คำนวณค่าใช้จ่ายติดตั้งโซลาร์เซลล์ราคาเท่าไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน

คำนวณค่าใช้จ่ายติดตั้งโซลาร์เซลล์

สำหรับใครหลายคน ที่ตอนนี้กำลังหันมาให้ความสนใจในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การหาข้อมูลและคำนวณค่าใช้จ่ายโซล่าเซลล์ราคาต่าง ๆ ในการติดตั้ง เป็นเรื่องที่ใครหลาย ๆ คน ต้องคิดพิจารณาหาข้อมูลมาตัดสินใจในการเลือกว่าควรติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างไร ในวันนี้ Electronmove รวบรวมข้อมูล และจะมาช่วยไกด์ “การคำนวณค่าใช้จ่าย สำหรับโซล่าเซลล์ราคาต่าง ๆ ว่าต้องดูอะไรบ้าง และจะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้านของเรา” ไปดูกันได้เลยที่บทความด้านล่างนี้ สารบัญ เลือกโซลาร์เซลล์ให้เหมาะกับบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง 1. รู้พฤติกรรมการใช้ไฟภายในบ้าน ก่อนตัดสินใจติดโซล่าเซลล์ เราต้องรู้พฤติกรรมการใช้ไฟภายในบ้าน ทั้งช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน เพื่อคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับผู้อาศัยภายในบ้าน  ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 เดือน บ้านของเราจ่ายค่าไฟฟ้าประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน โดยใช้ไฟช่วงกลางวัน 60 เปอร์เซ็นต์ ตกเป็นเป็นเงินประมาณ 6,000 บาท และกลางคืน 40 เปอร์เซ็นต์ ตกเป็นเป็นเงินประมาณ 4,000 บาท และมีค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.7 บาทต่อหน่วย หลังจากนั้น ให้ดูการใช้ไฟฟ้าว่าใช้เดือนละกี่หน่วย และนำมาหารจำนวนวันทั้งเดือน […]

อยากติดโซลาร์เซลล์ ควรติดตั้งในทิศใดเพื่อให้ผลิตไฟได้มากที่สุด

ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จากElectronmove

สำหรับใครที่กำลังวางแผนที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ หากทำการสำรวจกำลังไฟที่ใช้ภายในบ้าน และตรวจสอบสภาพของหลังคาแล้วว่า สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ คือเรื่องของทิศทางและองศาที่จะทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะนี่คืออีกหนึ่งจุดสำคัญที่จะทำให้ระบบโซลาร์เซลล์ที่เราทำการติดตั้งนั้น สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แล้วทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศไหน จึงจะเหมาะสม บทความนี้ Electronmove มีคำตอบมาให้คุณแล้ว สารบัญ ทิศที่เหมาะสมกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนว่า ด้วยความที่ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรเพียงเล็กน้อย ทำให้ได้รับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณที่มากตลอดทั้งปี โดยในมุมของสุริยวิถีในประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากทิศตะวันออก จากนั้นจะอ้อมไปทางทิศใต้เสมอ ทำให้ได้รับแสงอาทิตย์ต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน นั่นจึงทำให้ทิศใต้กลายเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปโดยปริยาย เพราะสามารถรับแสงแดดได้ตลอดวัน แต่ถ้าเกิดไม่สะดวกติดตั้งไปทางทิศใต้ แบบนี้ควรติดไปทิศไหนแทนกันล่ะ เรามาวิเคราะห์การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในแต่ละทิศไปพร้อม ๆ กันด้านล่างนี้ ทิศเหนือ ในประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากทิศตะวันออกและอ้อมไปทางทิศใต้เสมอ ดังนั้น จึงทำให้ทิศเหนือของประเทศไทย เป็นทิศที่ได้รับแสงแดดน้อยที่สุด และแน่นอนว่าหากจะใช้เป็นทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ทิศเหนือนั้นจึงเป็นทิศที่ถูกตัดออกไปจากตัวเลือกเป็นตัวแรก ๆ ทิศใต้ ทิศใต้ เป็นจุดหมายที่แสงแดดจะเดินทางมาจากทิศตะวันออกเสมอ ทำให้ทิศใต้เป็นทิศที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันแผงโซลาร์เซลล์ไปทางทิศใต้เสมอ ซึ่งแสงอาทิตย์ จะกระทบกับแผงโซลาร์เซลล์ในช่วงตอนเที่ยงมากที่สุด ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก เป็นทิศที่จะได้รับแสงแดดในปริมาณที่มากรองลงมาจากทิศใต้ แต่จะได้รับเพียงแค่ในช่วงเช้าไปจนถึงช่วงเที่ยงเท่านั้น โดยทิศตะวันตกจะได้รับปริมาณแสงอาทิตย์เทียบเท่ากับทิศตะวันออก ซึ่งถ้าหากใครจะติดตั้ง สปอร์ตไลท์โซลาร์เซลล์โดยหันหน้าแผงโซลาร์เซลล์ไปให้ทิศตะวันออก ก็จะทำให้สปอร์ตไลท์โซลาร์เซลล์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 100 […]

รู้จักส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์ เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานได้อย่างไร

รู้จักส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในปัจจุบันทางเลือกพลังงานสะอาดที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงอย่างโซล่าเซลล์ นั้นแพร่หลายไปเป็นวงกว้าง สำหรับใครที่สนใจอยากจะหาโซล่าเซลล์มาใช้งานแล้ว การทำความเข้าใจในส่วนประกอบของโซล่าเซลล์และตัวแผง รวมไปถึงหลักการทำงาน เพื่อแปลงไฟของแผงโซล่าเซลล์เข้าไปยังระบบนั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะสามารถตรวจสอบได้ว่า ผู้ให้บริการที่เราไปติดต่อนั้น ใช่มืออาชีพหรือมิจฉาชีพกันแน่ สารบัญ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ ตั้งแต่แผงไปจนถึงส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ จัดได้ว่าเป็นหัวใจหลักของระบบโซล่าเซลล์เลยก็ว่าได้ เพราะมันคือส่วนสำคัญที่จะเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน โดยจะมีส่วนประกอบ ดังนี้ 1.1 เซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์เป็นส่วนที่แปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์จะพิจารณาจากประเภทเซลล์ และลักษณะของซิลิคอนที่ใช้  โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ โมโนคริสตัลไลน์และโพลีคริสตัลไลน์ซิลิคอน ซึ่งจะมีหลายขนาด และการกำหนดค่าเซลล์ที่แตกต่างกัน ก็จะให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันอีกด้วย  1.2 แผ่นกระจก แผ่นกระจกด้านหน้าจะช่วยปกป้องเซลล์ PV จากสภาพอากาศ และผลกระทบจากลูกเห็บหรือเศษขยะในอากาศ รวมถึงฝุ่นละอองต่าง ๆ ภายในอากาศเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว กระจกจะเป็นกระจกนิรภัยที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งมีความหนา 3 ถึง 4 มิลลิเมตร และได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อแรงกดทางกล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รุนแรง 1.3 กรอบอลูมิเนียม […]

โซลาร์เซลล์ ถ้าฝนตกจะใช้งานได้ไหม ผลิตไฟน้อยลงหรือไม่

โซลาร์เซลล์ ฝนตก

สารบัญ แม้จะบอกว่าเมืองไทยนั้นมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะเราอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่า ในช่วงหน้าฝน หรือช่วงมรสุมเข้าของไทยที่ท้องฟ้าไม่เปิด จะทำให้ใครต่อใครกังวลว่า จะไม่สามารถใช้งานโซลาร์เซลล์ ฝนตกแบบนี้ได้ แต่ความจริงแล้วมันเป็นยังไงกันแน่ มาหาคำตอบของคำถามอันแสนคาใจของการใช้งานโซลาร์เซลล์ ฝนตก ด้วยข้อมูลจากบทความด้านล่างนี้ของ Electronmove ด้วยกัน ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ ฝนตก ถ้าฝนตกแล้วจะใช้งานได้ไหมนะ? ในช่วงที่ฝนตก หลาย ๆ คนมักกังวลว่าโซลาร์เซลล์จะไม่สามารถใช้งานได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรายังสามารถใช้งานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากโซลาร์เซลล์นี้ได้อยู่ เพียงแต่ปริมาณในการผลิตไฟฟ้าอาจจะลดลงเนื่องจากแดดที่น้อยลงนั่นเอง แล้วถ้าเป็นวันที่มีเมฆมาก โซลาร์เซลล์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไหมนะ? โดยทั่วไปแล้ว แสงอาทิตย์ที่เรานำมาใช้ผลิตพลังงานด้วยระบบโซลาร์เซลล์นั้น แบ่งออกมาได้เป็นสองแหล่งหลัก คือ  แสงตรง (Direct Sunlight) : คือแสงอาทิตย์ที่ส่องตรงมายังโลก ไม่มีอุปสรรคใด ๆ มาขวางทาง การมีแสงตรงเป็นส่วนใหญ่นั้น จะช่วยให้โซลาร์เซลล์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แสงกระจาย (Diffuse Sunlight) : นี่คือแสงที่ถูกเมฆ หรืออุปสรรคอื่น ๆ ในบรรยากาศสะท้อน หรือกระจายออกไปในทิศทางต่าง ๆ แสงกระจายนี้มีความเข้มข้นน้อยกว่าแสงตรง แต่ยังมีประโยชน์ในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นวันที่มีเมฆหรือวันที่มีแสงแดดส่องตรง […]

ติดโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ช่วยลดค่าไฟได้มากแค่ไหน หาคำตอบได้ที่นี่

ติดโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ช่วยลดค่าไฟได้มากแค่ไหน หาคำตอบได้ที่นี่

ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่าในปัจจุบัน ค่าไฟฟ้าของเมืองไทยนั้นกำลังถีบตัวสูงขึ้นจาก ปัญหาค่า Ft ที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลทำให้กระแสติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มเป็นที่นิยม ทั้งโรงงาน หรือบริษัทเอกชนต่าง ๆ แล้ว ยังรวมไปถึง บ้านเรือน ด้วยเช่นกัน  แต่การติดโซลาร์เซลล์นี้จะช่วยลดค่าไฟไปได้มากแค่ไหน และโซลาร์เซลล์ ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง Electronmove ได้รวบรวมคำตอบของคำถามเหล่านั้นไว้ให้ในบทความนี้แล้ว สารบัญ หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์ หลักการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ คือการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผงโซลาร์เซลล์, อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ อย่าง ตู้กระแสสลับ, มิเตอร์วัดกระแสสลับ, โครงข่ายไฟฟ้า และระบบความปลอดภัยนั่นเอง โดยมีกระบวนการคือ เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับแผงโซชาร์เซลล์ ก็จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานจากความเข้มของแสง จนกลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง แล้วส่งต่อไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ  จากนั้นจึงส่งต่อไปยังตู้กระแสสลับ, มิเตอร์วัดกระแสสลับ และหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเพิ่มแรงดัน ก่อนที่สุดท้ายจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของบ้านเพื่อใช้งานต่อไป และการจะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม กับการใช้งานของแต่ละบ้าน ก็จำเป็นที่จะต้องรู้พฤติกรรมการใช้ไฟอย่างสม่ำเสมอที่เกิดขึ้นทุกวันของบ้านหลังดังกล่าว ว่ามีการใช้งานอะไร อย่างไร และเท่าไหร่ในแต่ละวัน  ซึ่งหากใครที่ต้องการทราบข้อมูลอย่างคร่าว ๆ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบโปรโมชั่นต่าง […]

10 ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ช่วยประหยัดไฟได้อย่างไร มาดูกัน!

ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ช่วยประหยัดไฟได้อย่างไร

กระแสการติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นกำลังมาแรง โดยเฉพาะกับในประเทศไทย ที่ไม่ว่าจะในฤดูไหน ดวงอาทิตย์ก็ยังคงส่องสว่าง ให้แสงได้อย่างไม่มีวันหยุด ทำให้มีหลาย ๆ คนหันมาสนใจในเรื่องของพลังงานสะอาดนี้กันมากยิ่ง ๆ ขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์นั้นมีราคาที่สูง แต่ว่าด้วยข้อดีของโซล่าเซลล์ก็สามารถช่วยกลบเรื่องเหล่านั้นไปได้เป็นอย่างดี แล้วข้อดีของการใช้งานโซล่าเซลล์มีอะไรบ้าง เราไปดูกัน สารบัญ รวม 10 ข้อดีของโซล่าเซลล์ ที่ช่วยจูงใจให้น่าติดตั้ง 1. โซล่าเซลล์คือการนำพลังงานที่ไม่มีวันหมดมาใช้ เมื่อทำการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ กระบวนการภายในของมัน จะช่วยเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแน่นอนว่าแสงอาทิตย์คือพลังงานที่ไม่มีวันหมดไปจากโลกของเรา จึงมั่นใจได้ว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์ จะเป็นกระบวนการที่สามารถทำได้เรื่อย ๆ ตลอดไปไม่มีวันหมด ทำให้เรามีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอในชีวิตประจำวัน 2. โซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้จากทุกที่ขอแค่มีแสงแดด เมื่อปัจจัยหลักในการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ คือแสงแดด ทำให้เราสามารถผลิตพลังงานได้จากทุกที่ ขอแค่มีแสงแดดส่องถึงเท่านั้น โดยปริมาณการผลิตไฟฟ้าก็จะแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่แต่ละแห่ง รวมถึงตามปริมาณแสงแดดที่มาก หรือน้อย ตามสภาพภูมิประเทศ หรือภูมิอากาศของพื้นที่นั้น ๆ  3. มีอายุการใช้งานที่นาน มากกว่า 25 ปี ประสิทธิภาพภาพของแผงโซล่าเซลล์ จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ยาวนานถึง 25 ปีขึ้นไป แล้วแต่การดูแลรักษาและคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ ถ้าหากแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้มีคุณภาพสูง ก็อาจจะใช้งานได้ยาวนานกว่า 30 […]

แผงโซล่าเซลล์ มีกี่แบบ แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนดี

แผงโซล่าเซลล์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร มีกี่แบบ และควรเลือกใช้แบบไหนดี

สำหรับใครที่หันมาสนใจพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างโซล่าเซลล์ และต้องการที่จะนำไปติดตั้งกับบ้านหรือโฮมออฟฟิศ ไม่ก็โรงงานที่ตนดูแลอยู่ มาทำความรู้จักกับโซล่าเซลล์กันก่อนว่าตัวแผงนั้นมีส่วนประกอบจากอะไร และมีแผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบบไหนบ้าง แตกต่างกันอย่างไร พร้อมกับวิธีการเลือกใช้งานแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี ให้เหมาะสมกับการใช้งาน มาหาคำตอบในบทความนี้กัน สารบัญ ทำความรู้จักส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์ กว่าจะมาเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้เราได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นแผงแบบไหน ก็ล้วนแต่มีส่วนประกอบ ดังนี้ Glass : คือกระจกใสที่จะอยู่ชั้นด้านบนสุด เพื่อให้แสงจากพระอาทิตย์ส่องผ่านไปยังเซลล์ได้ และยังช่วยป้องกันเศษวัตถุขนาดเล็กที่อาจตกกระทบ สร้างความเสียหายต่อแผงภายใน เช่น เศษหิน กรวด หรือกิ่งไม้ เป็นต้น EVA Film (Ethylene Vinyl Acetate Film) ชั้นที่ 1 : คือส่วนที่มีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งอยู่ถัดลงมา มีหน้าที่ป้องกันเซลล์จากความชื้น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ Solar Cells : คือส่วนที่ประกอบไปด้วยโซล่าเซลล์หลาย ๆ เซลล์ ต่อรวมกันแบบอนุกรม ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไป จะมีอยู่ที่ประมาณ 36 เซลล์ต่อ 1 แผง […]

แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานยาวนานแค่ไหน คุ้มค่าที่จะติดตั้งหรือไม่

แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานยาวนานแค่ไหน คุ้มค่าที่จะติดตั้งหรือไม่

การลงทุนในระบบโซล่าเซลล์ เป็นสิ่งที่มีราคาที่สูง ซึ่งในมุมมองของผู้บริโภคแล้ว ไม่แปลกเลยที่จะมองในเรื่องของความคุ้มค่าในการใช้งานที่ยาวนาน จึงเป็นเรื่องปกติที่หลายคนจะสงสัยว่า โซล่าเซลล์สามารถใช้งานได้นานเท่าไหร่ คุ้มค่าไหมที่จะลงทุน และหากอยากยืดอายุการใช้งาน หรือการจัดการหลังจากที่หมดสภาพการใช้งานจะต้องทำอย่างไร บทความนี้ของ Electronmove จะพาคุณไปหาคำตอบของคำถามเหล่านี้เอง สารบัญ อายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ ใช้ได้นานเท่าไหร่จึงจำเป็นต้องเปลี่ยน แผงโซล่าเซลล์ในปัจจุบัน ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการรับแสง และผลิตไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยจะมีอายุการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์นั้น จะใช้งานได้เฉลี่ยราว 25 ถึง 30 ปี  โดยประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์อาจลดลงราว 20 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 10 ถึง 12 ปีแรก และหลังจากใช้งานไปจนถึงปีที่ 25 ประสิทธิภาพจะลดลงอีกราว 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลบำรุงรักษา หากมีการตรวจเช็ก และทำความสะอาดเป็นอย่างดี แม้ประสิทธิภาพจะลดลง แต่อายุการใช้งานโซล่าเซลล์ก็ยังสามารถใช้งานได้ไปยาว 30 ถึง 40 ปีเลยทีเดียว ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลถึงอายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ 1. สภาพอากาศ  สภาพอากาศนี่แหละ คือสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในการมีอายุยืนยาวของแผงโซล่าเซลล์ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดพายุลมแรงเข้า […]

คุ้มหรือไม่? ติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน 10 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ

คุ้มหรือไม่? ติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน มาดูข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ

จากเทรนด์การประหยัดค่าไฟในระยะยาว และปัญหาค่าไฟที่แพงขึ้นในทุก ๆ ปี ทำให้ใครหลายคนเกิดความสนใจในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บ้านมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทว่า การที่จะตัดสินใจนำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งนั้น ก็มีหลายเรื่องที่เราจำเป็นจะต้องรู้ก่อนการตัดสินใจเหล่านี้ ในบทความนี้ Electronmove จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ 10 ข้อควรรู้ก่อนการตัดสินใจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บ้าน พร้อมทั้งข้อมูลการตัดสินใจต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มข้อมูลให้เราว่าจะคุ้มค่าในการนำมาใช้งานหรือไม่อีกด้วย สารบัญ รวม 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนที่จะตัดสินใจจะติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน  1. ตรวจสอบความพร้อมของบ้านก่อนที่จะตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์ การสำรวจความพร้อมของสถานที่ จะทำให้เรารู้ว่าสามารถทำการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่บ้านได้หรือไม่ โดยจะทำการสำรวจความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคา ว่าแข็งแรงพอที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นเวลาหลายสิบปี พร้อมทั้งตรวจสอบรูปทรงหลังคา เพื่อเป็นแนวทางในการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม  รวมทั้งตรวจสอบวัสดุที่ใช้ปูหลังคา ว่าสามารถรับน้ำหนักได้โดยที่ไม่เกิดผลกระทบจากการรับน้ำหนักในภายหลัง ซึ่งหากวัสดุนั้นไม่แข็งแรงพอ หรือมีรอยแตก รอยรั่ว ก็ควรที่จะทำการรีโนเวทใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของโซล่าเซลล์ได้ เนื่องจากมาตรฐานของแผ่นโซลาร์เซลล์นั้น จะมีขนาดอยู่ที่ 1×2 เมตร และ 1 แผ่นจะมีน้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ทำให้หากมีรอยร้าว รอยแตก รอยรั่วก็จะทำให้เกิดความเสียหายจากการที่หลังคาถล่มได้  นอกจากนี้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูทิศทางของการรับแสงจากดวงอาทิตย์ด้วย เพราะถ้าหากมีสิ่งกีดขวางในการรับแสง เช่น ต้นไม้ เสาอากาศ หรือดาวเทียม ก็จะทำให้โซล่าเซลล์ใช้งานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร […]

ทำความเข้าใจการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อยากติดโซล่าเซลล์ต้องรู้

ทำความเข้าใจการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อยากติดโซล่าเซลล์ต้องรู้

สำหรับใครที่กำลังคิดและตัดสินใจว่าจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อที่จะประหยัดค่าไฟจากนี้ไปตามเทรนด์ที่นิยมในปัจจุบัน มีเรื่องที่ควรรู้ก่อนการติดตั้งอยู่มากมาย นั่นรวมไปถึงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเสียหน่อย เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และไม่โดนมิจฉาชีพที่หวังจะเข้ามาหลอกนั้น หลอกเข้าให้นั่นเอง ไปดูเนื้อหาในบทความนี้กัน Table of Contents ทำความเข้าใจการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อยากติดโซล่าเซลล์ต้องรู้ สำหรับใครที่กำลังคิดและตัดสินใจว่าจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อที่จะประหยัดค่าไฟจากนี้ไปตามเทรนด์ที่นิยมในปัจจุบัน มีเรื่องที่ควรรู้ก่อนการติดตั้งอยู่มากมาย นั่นรวมไปถึงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเสียหน่อย เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และไม่โดนมิจฉาชีพที่หวังจะเข้ามาหลอกนั้น หลอกเข้าให้นั่นเอง ไปดูเนื้อหาในบทความนี้กัน  การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เขาทำอะไรบ้างกันนะ 1. ติดตั้งโครงสร้างแผงโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านเรือน หรืออาคารต่าง ๆ ก่อนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะต้องมีการสำรวจความพร้อมของโครงสร้างเดิมที่จะติดตั้งลงไปก่อน โดยเฉพาะบริเวณหลังคาของบ้าน หรือดาดฟ้าอาคาร ซึ่งทาง Electronmove จะส่งช่างมาทำการตรวจสอบโครงสร้างหลังคาก่อนติดตั้งเสมอ ๆ และจะต้องมีการออกแบบและติดตั้งวัสดุยึดแผง หรือ Solar Mounting เพื่อเสริมความแข็งแรงในการรองรับน้ำหนักแผง ป้องกันการทรุดตัวของตัวหลังคา ไม่ทำให้เกิดการรั่วซึมจากแนวกระเบื้องที่ไม่แนบสนิท ซึ่งหากไม่มีการติดตั้งจะเกิดปัญหา และผลกระทบในภายหลังการติดตั้งได้ ตั้งแต่การทรุดตัวของหลังคาจนถล่ม และอาจส่งผลไปถึงโครงสร้างของตัวบ้าน ที่อาจเกิดรอยแตกร้าวจากน้ำหนักที่ต้องแบกรับ 2. ติดแผงโซล่าเซลล์เข้ากับโครงสร้าง ก่อนจะไปถึงเรื่องของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าในปัจจุบัน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ […]