Electron Move

แผงโซล่าเซลล์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร มีกี่แบบ และควรเลือกใช้แบบไหนดี

สำหรับใครที่หันมาสนใจพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างโซล่าเซลล์ และต้องการที่จะนำไปติดตั้งกับบ้านหรือโฮมออฟฟิศ ไม่ก็โรงงานที่ตนดูแลอยู่ มาทำความรู้จักกับโซล่าเซลล์กันก่อนว่าตัวแผงนั้นมีส่วนประกอบจากอะไร และมีแผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบบไหนบ้าง แตกต่างกันอย่างไร พร้อมกับวิธีการเลือกใช้งานแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี ให้เหมาะสมกับการใช้งาน มาหาคำตอบในบทความนี้กัน

สารบัญ

ทำความรู้จักส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์

ส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์

กว่าจะมาเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้เราได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นแผงแบบไหน ก็ล้วนแต่มีส่วนประกอบ ดังนี้

  • Glass : คือกระจกใสที่จะอยู่ชั้นด้านบนสุด เพื่อให้แสงจากพระอาทิตย์ส่องผ่านไปยังเซลล์ได้ และยังช่วยป้องกันเศษวัตถุขนาดเล็กที่อาจตกกระทบ สร้างความเสียหายต่อแผงภายใน เช่น เศษหิน กรวด หรือกิ่งไม้ เป็นต้น
  • EVA Film (Ethylene Vinyl Acetate Film) ชั้นที่ 1 : คือส่วนที่มีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งอยู่ถัดลงมา มีหน้าที่ป้องกันเซลล์จากความชื้น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์
  • Solar Cells : คือส่วนที่ประกอบไปด้วยโซล่าเซลล์หลาย ๆ เซลล์ ต่อรวมกันแบบอนุกรม ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไป จะมีอยู่ที่ประมาณ 36 เซลล์ต่อ 1 แผง
  • Fiberglass Cloth : คือส่วนชั้นที่เสริมเข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับแผงโซลาร์เซลล์
  • EVA Film (Ethylene Vinyl Acetate Film) ชั้นที่ 2 : คือฟิล์มแบบเดียวกับที่ติดตั้งถัดลงมาจากชั้นของกระจก ซึ่งจะมีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง และป้องกันความชื้นให้กับแผงอีกชั้นหนึ่ง
  • PVF or Other Back Cover Film : คือส่วนที่มีไว้ป้องกันชั้น EVA ชั้นล่างสุดอีกทีหนึ่ง เพื่อไม่ให้ตัวฟิล์มนั้นเสียหาย

ชนิดของแผงโซล่าเซลล์ในปัจจุบัน มีกี่แบบกันบ้าง

1. แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์

แผงโซล่าเซลล์ชนิด Mono Crystalline นี้เป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยเริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก ที่เกิดจากกระบวนการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า “Czochralski Process” จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในแผงโซล่าเซลล์

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจาก ซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์จะมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะให้กำลังที่สูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ชนิดนี้ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 4 เท่าของชนิดฟิล์มบาง
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากว่าชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงที่มีน้อย

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์เป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุด ในบางครั้งการติดตั้งด้วยแผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ หรือชนิดฟิล์มบางอาจมีความคุ้มค่ามากกว่า
  • ถ้าหากแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์มีความสกปรก หรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจร หรืออินเวอร์เตอร์ไหม้ได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดโวลต์ที่สูงเกินไป

2. แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย และไม่ซับซ้อน จึงใช้ปริมาณซิลิคอนในการผลิตน้อยกว่า เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูง ดีกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13 ถึง 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ ต่ำกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีสีน้ำเงิน ทำให้บางครั้งอาจดูไม่สวยงาม เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ และฟิล์มบางที่มีสีเข้มเข้ากับหลังคาบ้านได้ดีกว่านั่นเอง

3. แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

โซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง

หลักการโดยทั่วไปของการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cell, TFSC) คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์ม หรือชั้นบาง ๆ ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เป็นสาเหตุที่เราเรียกโซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง (Thin Film) ซึ่งการสารฉาบที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ชื่อเรียกของ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางนี้อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่

  • Amorphous Silicon (a-Si)
  • Cadmium Telluride (CdTe)
  • Copper Indium Gallium Selenide (CIS / CIGS) 
  • Organic Photovoltaic Cells (OPC)

ซึ่งทำให้ชื่อ แผงอะมอร์ฟัส คือแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางนั่นเอง

ด้านประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางนั้น มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ แต่สำหรับบ้านเรือนโดยทั่วไปแล้ว มีเพียงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ที่เป็นแบบชนิดฟิล์มบาง

หรือติดต่อเราผ่านช่องทางอื่น ๆ ดังนี้

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางมีราคาที่ถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่าชนิดที่ใช้ผลึกซิลิคอน
  • ในที่อากาศร้อนมาก ๆ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
  • ไม่มีปัญหาเรื่องแผงสกปรกแล้วจะทำให้วงจรไหม้
  • ถ้าหากมีที่เหลือเฟือ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางก็เป็นทางเลือกที่ดี

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางมีประสิทธิภาพต่ำ เมื่อเทียบกับแบบชนิดที่ใช้ผลึกซิลิคอน
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำมากที่สุด และยังสิ้นเปลืองค่าโครงสร้าง รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างสายไฟมาก
  • ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน เพราะมีพื้นที่จำกัด
  • มีการรับประกันที่สั้นกว่าชนิดที่ใช้ผลึกซิลิคอน

ซื้อแผงโซล่าเซลล์มาใช้งาน ควรเลือกซื้อแบบไหนดี

1. เลือกแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะกับงานที่เราจะใช้

แผงโซล่าเซลล์แบบคริสตัลไลน์ ที่เหมาะกับการติดตั้งบนหลังคาของบ้านพักอาศัย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โมโนคริสตัลไลน์ และโพลีคริสตัลไลน์ โดยทั้ง 2 ชนิดจะมีคุณภาพไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อเทียบด้วยกำลังวัตต์ที่เท่ากัน แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ จะมีขนาดเล็กกว่า เหมาะกับสถานที่ติดตั้งที่มีพื้นที่จำกัดอย่างหลังคาบ้าน แต่ถ้าต้องการประหยัดงบในกระเป๋า สามารถเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์เเทนได้ เพราะมีราคาถูกกว่าประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

และสำหรับผู้ที่ต้องการนำแผงโซล่าเซลล์ไปใช้งานโดยตรงกับปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ควรเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังวัตต์มากกว่าเท่าตัว เพราะการสตาร์ทปั๊มน้ำในช่วงแรกจะต้องใช้กระแสไฟมากพอสมควร ส่วนผู้ที่ใช้ร่วมกับแบตเตอรี่ ควรเลือกแผงโซลาร์เซลล์มีกำลังวัตต์ มากกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการถนอมแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

2. การติดตั้งที่กลมกลืนกับอาคารอย่างสวยงาม

บ่อยครั้งที่การติดแผงโซล่าเซลล์ ทำให้อาคารสูญเสียความสวยงาม โดยเฉพาะบ้านในเมืองไทยที่นิยมทำหลังคาทรงปั้นหยาที่มีมุมเอียง การเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่ออกแบบมาให้ติดตั้งตามรูปทรงหลังคาได้ จะทำให้ดูกลมกลืนกับตัวบ้าน อีกทั้งการเลือกแผงชนิดสีดำล้วน ดีไซน์เรียบ และมีวิธีการติดตั้งให้กลมกลืนกับเส้นกระเบื้องหลังคา จะทำให้บ้านยังคงดูสวยงามทันสมัยไปได้อีกด้วย

ติดแผงโซล่าเซลล์อาคาร

3. ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต และผู้ติดตั้ง

แผงโซล่าเซลล์จะติดอยู่กับบ้านไปอีกหลายสิบปี การรับประกันและความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต จึงทำให้มั่นใจว่าบริษัทผู้ผลิต และผู้ให้บริการจะยังคงอยู่ตลอดการรับประกันสินค้า รวมถึงสินค้าที่ได้จะมีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีทีมงานคอยดูแลตลอดอายุการใช้งาน

เช่นเดียวกับเรา Electronmove ที่มีประวัติการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้านมาแล้วหลากหลายโครงการ ทั้ง Ananda Development, AP Thailand, Land&House, SC ASSET, Sansiri และอื่น ๆ อีกมากมายกว่าอีก 7 โครงการ การันตีความเชี่ยวชาญในเรื่องระบบโซล่าเซลล์บ้านได้อย่างเด่นชัด 

รวมถึงยังให้คำปรึกษา พร้อมนำเสนอระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน คำนวนระยะเวลาคืนทุน และประเมินพื้นที่หน้างานว่าคุ้มค่ากับการติดตั้งหรือไม่ พร้อมทั้งการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ด้วยทีมงานคุณภาพที่ผ่านการอบรมมาตราฐานฝีมือจากการไฟฟ้า และหน่วยงานสากลที่เกี่ยวข้อง ควบคุมคุณภาพขั้นตอนการติดตั้ง โดยวิศวะไฟฟ้าที่มีประสบการณ์ในสายงานมากกว่า 5 ปี ด้วยราคาแผงโซล่าเซลล์ สําหรับบ้านที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ตามที่ลูกค้าต้องการ

นอกจากนี้ ยังมีบริการหลังการขาย ที่คอยดูแลล้างแผงโซล่าเซลล์ให้ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 5 ปี รวมถึงคอยซ่อมบํารุงตรวจสอบระบบทุกครั้งที่เข้าไปล้างแผงโซล่าเซลล์บ้าน ทั้งยังคอยติดตามและวิเคราะห์ผลผลิตของระบบโซลาร์เซลล์ พร้อมประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง การีนตีด้วยทีมช่างที่จะเข้าไปตรวจสอบหน้างานเมื่อเกิดปัญหาของระบบโซล่าเซลล์ และยังเป็นที่ปรึกษาปัญหาระบบโซล่าเซลล์ให้ได้ตลอดอายุการใช้งานอีกด้วย

4. กำลังวัตต์ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตได้

ก่อนเลือกแผงโซล่าเซลล์มาใช้งาน เราต้องรู้ก่อนว่าต้องการผลิตกระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด และต้องใช้ขนาดกำลังวัตต์เท่าใดจึงจะเหมาะสม เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปคำนวณและออกแบบระบบให้ถูกต้อง และถ้ามองเรื่องความคุ้มค่า อาจเปรียบเทียบแผงโซลาร์เซลล์จากราคาบาทต่อวัตต์ (Baht/W) ว่าสูงหรือต่ำ 

โดยแผงโซลาร์เซลล์มีหลายขนาดให้เลือกตั้งแต่ 10 ถึง 300 วัตต์ขึ้นไป สำหรับอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ถึง 25 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าก็จะลดลงตามลำดับ แผงโซลาร์เซลล์ที่ได้มาตรฐานเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์จะลดลงเหลือประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ และ 25 ปี จะลดลงเหลือประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ควรเลือกขนาดกำลังวัตต์ให้เหมาะกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น โซล่าเซลล์ขนาด 10 ถึง 20 วัตต์ เหมาะกับการใช้เป็นไฟส่องสว่างทางเดินในบ้านหรือในสวน ส่วนโซล่าเซลล์ขนาด 225 วัตต์ขึ้นไป ใช้กับปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

สรุป

สุดท้ายนี้ ก็หวังว่าทุก ๆ คนจะได้ข้อมูลแล้วว่าควรเลือกแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี เพราะชนิดของแผงโซล่าเซลล์นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน การเลือกใช้งานให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหากใครที่กำลังสนใจจะติดตั้งแต่ยังไม่แน่ใจ สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญอย่างเรา Electronmove ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ และติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์ในสายงานมากกว่า 5 ปี โดยแผงโซล่าเซลล์ที่เราจัดจำหน่ายนั้นมีหลายไซส์ หลายความเข้ม ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามงบประมาณที่มี และยังรวมไปถึงการดูแลทั้งในเรื่องของการติดตั้งและการซ่อมบำรุงต่าง ๆ หลังการขายอีกด้วย หากสนใจ สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove ของเรา