Electron Move

คุ้มหรือไม่? ติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน มาดูข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ

จากเทรนด์การประหยัดค่าไฟในระยะยาว และปัญหาค่าไฟที่แพงขึ้นในทุก ๆ ปี ทำให้ใครหลายคนเกิดความสนใจในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บ้านมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทว่า การที่จะตัดสินใจนำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งนั้น ก็มีหลายเรื่องที่เราจำเป็นจะต้องรู้ก่อนการตัดสินใจเหล่านี้

ในบทความนี้ Electronmove จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ 10 ข้อควรรู้ก่อนการตัดสินใจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บ้าน พร้อมทั้งข้อมูลการตัดสินใจต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มข้อมูลให้เราว่าจะคุ้มค่าในการนำมาใช้งานหรือไม่อีกด้วย

สารบัญ

รวม 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนที่จะตัดสินใจจะติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน 

1. ตรวจสอบความพร้อมของบ้านก่อนที่จะตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์

การสำรวจความพร้อมของสถานที่ จะทำให้เรารู้ว่าสามารถทำการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่บ้านได้หรือไม่ โดยจะทำการสำรวจความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคา ว่าแข็งแรงพอที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นเวลาหลายสิบปี พร้อมทั้งตรวจสอบรูปทรงหลังคา เพื่อเป็นแนวทางในการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม 

รวมทั้งตรวจสอบวัสดุที่ใช้ปูหลังคา ว่าสามารถรับน้ำหนักได้โดยที่ไม่เกิดผลกระทบจากการรับน้ำหนักในภายหลัง ซึ่งหากวัสดุนั้นไม่แข็งแรงพอ หรือมีรอยแตก รอยรั่ว ก็ควรที่จะทำการรีโนเวทใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของโซล่าเซลล์ได้ เนื่องจากมาตรฐานของแผ่นโซลาร์เซลล์นั้น จะมีขนาดอยู่ที่ 1×2 เมตร และ 1 แผ่นจะมีน้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ทำให้หากมีรอยร้าว รอยแตก รอยรั่วก็จะทำให้เกิดความเสียหายจากการที่หลังคาถล่มได้ 

นอกจากนี้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูทิศทางของการรับแสงจากดวงอาทิตย์ด้วย เพราะถ้าหากมีสิ่งกีดขวางในการรับแสง เช่น ต้นไม้ เสาอากาศ หรือดาวเทียม ก็จะทำให้โซล่าเซลล์ใช้งานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งเรื่องของทิศทางก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยที่ควรติดตั้งในทิศใต้ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นทิศที่จะได้รับแสงแดดยาวนานที่สุดในแต่ละวันของเมืองไทย

2. สำรวจพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านว่าเป็นเช่นไร

โดยสำรวจการใช้ไฟบ้านในแต่ละเดือนว่ามีการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน และช่วงเวลากลางคืนมากน้อยแค่ไหน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกติดโซล่าเซลล์แบบใด ให้เหมาะสมที่สุดกับการใช้งานภายในบ้านของเรา

ซึ่งบ้านที่มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างในช่วงกลางวัน ยกตัวอย่างเช่น บ้านที่มีสมาชิกอาศัยอยู่ตลอดทั้งวัน บ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียง บ้านที่มีการทำงานแบบ Work From Home ร้านค้า ออฟฟิศ จะมีการใช้งานไฟฟ้าที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ทำให้มีค่าไฟที่ต้องจ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 ถึง 3,000 บาทขึ้นไป 

โดยบ้านที่มีอัตราการใช้ไฟฟ้าแบบนี้ ถือได้ว่าเป็นบ้านที่คุ้มค่าพอสำหรับกำลังติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ที่ตัวระบบของโซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้าขั้นต่ำได้ประมาณ 1.8 ถึง 3 กิโลวัตต์ ทำให้อย่างต่ำ ๆ ก็จะสามารถประหยัดค่าไฟได้ 900 ถึง 1,000 บาทนั่นเอง

ตรวจสอบความพร้อมของบ้านก่อนที่จะตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์

3. ทำความรู้จักประเภทของโซล่าเซลล์ 

การผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ในบ้าน ส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งระบบแบบ On-Grid มากที่สุด เนื่องจากราคาเข้าถึงง่าย และสามารถขายไฟคืนให้ภาครัฐได้หากมีไฟเกิน ซึ่งหากใครที่กำลังคิดว่าจะใช้งานแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี ปัจจุบันจะมีแผงโซล่าเซลล์อยู่ 3 แบบที่นิยมใช้ในกันในประเทศไทย ได้แก่

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cell) : เซลล์ของแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัดสีเข้ม มีคุณภาพสูง ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแดดน้อย
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cell) : เซลล์ของแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ไม่มีการตัดมุม ผลิตไฟฟ้าในที่ที่มีอุณหภูมิสูงได้ดีกว่าเล็กน้อย
  • แผงโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบางหรือทินฟิล์ม (Thin Film Solar Cells) : แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ สีแผงจะเป็นสีดำ และมีความบาง โค้งงอได้ ทนต่ออากาศร้อนได้ดี

4. หาข้อมูลประเภทของอินเวอร์เตอร์ที่จะติดตั้งร่วมกับโซล่าเซลล์

อินเวอร์เตอร์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะเป็นอุปกรณ์แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากโซล่าเซลล์ให้เป็นกระแสสลับ พร้อมกับส่งไฟฟ้าไปยังเบรกเกอร์ ก่อนจะจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้าน โดยอินเวอร์เตอร์ที่นิยมใช้ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ จะมี 2 ประเภทคือ

  • สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) : เป็นอุปกรณ์แปลงพลังงานไฟฟ้า ที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ และใช้เพียงตัวเดียวในการเชื่อมต่อรวมกับระบบโซล่าเซลล์ทุกแผง ทำให้ควบคุมดูแลได้ง่ายเพียงแค่จุดเดียว
  • ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) : เป็นอุปกรณ์แปลงพลังงานไฟฟ้า ที่จะเป็นเครื่องที่ติดตั้งแยกย่อยกับโซล่าเซลล์แต่ละแผง ทำให้เมื่อระบบของแผงใดแผงหนึ่งขัดข้อง แผงอื่น ๆ ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ

ตรวจสอบว่าติดโซล่าเซลล์แล้วใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้กี่ชิ้น อะไรบ้าง

5. ตรวจสอบว่าติดโซล่าเซลล์แล้วใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้กี่ชิ้น อะไรบ้าง

พลังงานแสงอาทิตย์เมื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้ว ก็จะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลากหลาย โดยที่ตัวแผงโซล่าเซลล์ที่หลังคา จะส่งพลังงานที่ได้ไปยังตัวควบคุมส่วนกลาง และแปลงเป็นไฟฟ้าจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น ซึ่งหากไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ก็จะสลับมาใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแทน เช่น ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ โซล่าเซลล์ผลิตมาได้ 3 กิโลวัตต์ ระบบก็จะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาอีก 2 กิโลวัตต์ หรือบ้านที่มีตัวเก็บพลังงาน ถ้าโซล่าเซลล์ผลิตได้ 2 กิโลวัตต์ ในตัวเก็บพลังงานมีอยู่แล้ว 3 กิโลวัตต์ ก็จะไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า 

ซึ่งการผลิตไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ในแต่ละวันอาจมีจำนวนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพแสงแดดด้วย แต่ถ้าพูดในเชิงสถิติแล้ว อาคารส่วนใหญ่ในเมืองไทยจะใช้ไฟฟ้าประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ไปกับเครื่องปรับอากาศ การติดโซล่าเซลล์จึงมักไปแบ่งเบาการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศมากที่สุดเป็นหลัก

6. ทำการประเมินอายุการใช้งาน และการดูแลรักษาว่าเป็นอย่างไร พร้อมคำนวณความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บ้าน

บริษัทที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐานจะออกแบบอุปกรณ์มาให้อยู่ได้ถึง 30 ปีอยู่แล้ว โดยผู้ผลิตมีการรับประกันแผงโซลาร์เซลล์ที่ 25 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาแต่ละเจ้าแตกต่างกัน พร้อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นระบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมาก กลายเป็นระบบที่ดูแลง่ายที่สุด เมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานแบบอื่น 

โดยการดูแลรักษาระบบโซล่าเซลล์บ้าน สิ่งสำคัญคือการดูแลแผงควบคุมให้อยู่ในสภาพปกติ รวมถึงรักษาความสะอาดของแผงโซล่าเซลล์ เพราะการไม่ได้ล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ จะส่งผลทำให้ตัวแผงผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ก็จริง แต่ก็ต้องคำนวณออกมาให้เห็นตัวเลขด้วยว่าคุ้มค่าในการติดตั้งจริงหรือไม่ รวมถึงสามารถนำไปขายให้กับทางการไฟฟ้าได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องตรวจสออบให้ถี่ถ้วนเสียก่อนการลงทุน

เลือกผู้ให้บริการและตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

7. เลือกผู้ให้บริการและตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

การเลือกผู้ให้บริการที่จะทำการติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านให้กับเรา เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาด้วยปัจจัยต่าง ๆ เพราะไม่ใช่เพียงเรื่องราคาเท่านั้นที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ในทันที แต่ยังต้องมีส่วนอื่น ๆ ที่ต้องนำมาช่วยตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือของผู้ติดตั้ง ประสบการณ์ในการทำงาน และการบริการหลังการขายต่าง ๆ 

เพราะในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มให้ความสนใจในการติดตั้งโซล่าเซลล์กันเยอะขึ้น จึงทำให้ในตลาดมีผู้ให้บริการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เยอะขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ การเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ และน่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งที่สมควรทำ เพราะการติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นการติดตั้งใช้งานในระยะยาว จึงต้องใช้ความชำนาญและได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

นอกจากนี้ ยังควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของผู้ให้บริการจากหลากหลายบริษัท ว่ามีการบริการและราคาที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะเรื่องของการให้บริการหลังการขาย กับการรับประกัน โดยปกติการรับประกันจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การรับประกันตัวของสินค้า และการรับประกันประสิทธิภาพของตัวแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งบางผู้ให้บริการอาจมีระยะเวลาในการรับประกันแตกต่างกัน รวมไปถึงอาจมีการรับประกันอุปกรณ์อื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นกัน

8. งบประมาณและการคืนทุนเมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์

อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการลงทุนติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์บ้าน คือการกำหนดงบประมาณ และการคำนวณการคืนทุนในการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ โดยในส่วนของงบประมาณนั้น ปัจจุบันราคาในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะแตกต่างกันไปในเรื่องของขนาด ซึ่งแผงโซล่าเซลล์แบบที่ใช้งานภายในครัวเรือนได้ จะมีราคาตั้งแต่ 170,000 สูงไปจนถึง 500,000 บาท เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการติดโซล่าเซลล์ ราคาจะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของแต่ละบริษัท รวมไปถึงชนิดของแผงโซล่าเซลล์ และอินเวอร์เตอร์ ส่วนในเรื่องของการคืนทุน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 10 ปีโดยเฉลี่ย และหลังจากที่คืนทุนแล้ว ก็จะได้ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันฟรี อีกทั้งยังสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับทางการไฟฟ้าได้ จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากในระยะยาว

งบประมาณและการคืนทุนเมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์

9. อย่าลืม! ยื่นเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กับทางการไฟฟ้า

การทำเรื่องขอติดตั้งโซล่าเซลล์ ส่วนใหญ่แล้วจำเป็นจะต้องใช้เวลานาน 1 ถึง 2 เดือน และรายละเอียดของการขออนุญาตนั้น อาจจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ว่าจะติดตั้งไปเพื่ออะไร และสถานที่ติดตั้งเป็นอาคารแบบใด

แต่หากเป็นการติดโซล่าเซลล์ที่ใช้สำหรับบุคคลแล้ว จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เข้าไปทำการสำรวจสถานที่ ทำการวัดขนาด และทิศทางของการติดตั้งเสียก่อน จากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการยื่นเอกสารที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต่อไป ซึ่งในตรงนี้ หลาย ๆ บริษัทที่รับทำการติดตั้งจะช่วยดำเนินการให้อีกด้วย

10. หมั่นดูแลรักษาโซล่าเซลล์บ้านที่ติดตั้งอย่างเป็นประจำ

เมื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไว้ที่บ้านแล้ว ก็ต้องหมั่นดูแลและตรวจสอบสภาพแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ เพราะหากขาดการดูแลและตรวจสอบเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้การทำงานและประสิทธิภาพการรับแสงน้อยลง โดยสามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบอ่อนอย่างน้ำสบู่ หรือน้ำยาเช็ดกระจกในการทำความสะอาดได้ จากนั้นจึงเช็ดให้แห้ง แต่ห้ามใช้น้ำยาที่มีการกัดกร่อนสูงเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับแผงโซล่าเซลล์ได้

แต่หากใครไม่สะดวกในการทำความสะอาดด้วยตนเอง ก็สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญที่รับทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์มาจัดการ รวมไปถึงในบางบริษัทที่รับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เอง ก็จะมีบริการหลังการขายที่จะเข้ามาดูแลทำความสะอาดให้เช่นกัน

อยากติดโซล่าเซลล์บ้าน ปรึกษา Electronmove

สำหรับใครที่กำลังมองหาผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บ้าน Electronmove ของเรานั้น ให้บริการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ และให้คำปรึกษาด้านการออกแบบระบบ สำหรับบ้านพักอาศัย โรงงาน และบริษัทที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า หรือต้องการรณรงค์เรื่องการใช้พลังงานสะอาด 

รวมถึงให้คำปรึกษา พร้อมนำเสนอระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน คำนวนระยะเวลาคืนทุน และประเมินพื้นที่หน้างานว่าคุ้มค่ากับการติดตั้งหรือไม่ พร้อมทั้งการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ด้วยทีมงานคุณภาพที่ผ่านการอบรมมาตราฐานฝีมือจากการไฟฟ้า และหน่วยงานสากลที่เกี่ยวข้อง ควบคุมคุณภาพขั้นตอนการติดตั้ง โดยวิศวะไฟฟ้าที่มีประสบการณ์ในสายงานมากกว่า 5 ปี มีผลงานมากกว่า 900 โปรเจกต์ขึ้นไป รวมถึงโครงการหมู่บ้านต่าง ๆ กว่า 12 โครงการ ด้วยราคาแผงโซล่าเซลล์ สําหรับบ้านที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ตามที่ลูกค้าต้องการ

นอกจากนี้ ยังมีบริการหลังการขาย ที่คอยดูแลล้างแผงโซล่าเซลล์ให้ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 5 ปี รวมถึงคอยซ่อมบํารุงตรวจสอบระบบทุกครั้งที่เข้าไปล้างแผงโซล่าเซลล์บ้าน ทั้งยังคอยติดตามและวิเคราะห์ผลผลิตของระบบโซลาร์เซลล์ พร้อมประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง การันตีด้วยทีมช่างที่จะเข้าไปตรวจสอบหน้างานเมื่อเกิดปัญหาของระบบโซล่าเซลล์ และยังเป็นที่ปรึกษาปัญหาระบบโซล่าเซลล์ให้ได้ตลอดอายุการใช้งานอีกด้วย

สรุป

การรับรู้ข้อมูลที่จำเป็นของโซล่าเซลล์ ข้อดี ข้อเสีย ก่อนการตัดสินใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์กับบ้านของเรา จะช่วยทำให้สามารถตัดสินใจในเรื่องของความคุ้มค่าได้มากยิ่งขึ้น แน่นอนว่า การมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษานั้นเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่า 

ซึ่งหากใครที่ต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงดูแพ็กเกจของทางเรา สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove โดยตรง ทางเราพร้อมให้คำปรึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังสามารถประเมินหน้างานให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม

หรือติดต่อเราผ่านช่องทางอื่น ๆ ดังนี้

  • Line Official : @electronmove
  • โทร : 093-659-4545 (เซลล์)
  • โทร : 093-552-4444 (บริการหลังการขาย)
  • E-mail : support@electronmove.co.th