รู้หรือไม่ ? ธุรกิจอะไรบ้างที่เหมาะสมกับโซลาร์เซลล์ระบบ Micro Inverter

ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยไมโครอินเวอร์เตอร์จะติดตั้งอยู่ใต้แผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผง ทำให้สามารถแปลงพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงได้อย่างอิสระ ซึ่งในวันนี้ทางทีมงานของเราจะพาไปเจาะลึกถึงข้อดีของ Micro Inverter พร้อมแนะนำอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ออกมาได้อย่างคุ้มค่า ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบการตัดสินใจ ไมโครอินเวอร์เตอร์ มีข้อดีอะไรบ้าง ไมโครอินเวอร์เตอร์ มีข้อดีหลายประการ ดังนี้ ธุรกิจที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบ Micro Inverter ธุรกิจที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบ Micro Inverter แล้วคุ้มค่า ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นธุรกิจที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในช่วงกลางวันโดยทั่วไป ได้แก่ อุตสาหกรรมต่าง ๆ อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิตเหล็ก ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อจ่ายพลังงานให้กับเครื่องจักรและกระบวนการผลิต ศูนย์ข้อมูลดาต้าเซ็นเตอร์ ศูนย์ข้อมูลต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แต่การใช้ไฟฟ้ามักจะถึงจุดสูงสุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการบริการออนไลน์สูง อาคารสำนักงาน อาคารสำนักงานสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการทำงานของ ระบบปรับอากาศ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าตลอดทั้งวัน โรงพยาบาล โรงพยาบาลต้องการพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ แสงสว่าง โดยเฉพาะในช่วงกลางวันซึ่งมีการผ่าตัดและการรักษา ร้านอาหารและคาเฟ่ […]

เพราะอะไรเราถึงต้องลองใช้ไมโครอินเวอร์เตอร์ จาก Enphase

เมื่อพูดถึงพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์พาวเวอร์ (Solar Power) บางคนอาจนึกถึงแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ (Inverters) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและอยากให้ทุกคนได้ลองใช้ นั่นก็คือ ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverters) เราขอพาทุกคนไปสำรวจเทคโนโลยีและบริษัทชั้นนำที่เชื่อมโยงกับการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้คุณเข้าใจเพิ่มเติม นั่นก็คือไมโครอินเวอร์เตอร์ จาก Enphase ว่าสิ่งนี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร รวมไปถึงข้อดีที่ตอบคำถามที่ว่า “ทำไมเราถึงควรลองใช้ Enphase” จุดเริ่มต้นของ Enphase ก่อนที่จะเริ่มทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ไมโครอินเวอร์เตอร์ เราขอพาไปรู้จักกับจุดเริ่มต้นของ Enphase กันก่อน บริษัท Enphase Energy, Inc. เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายระบบโซลาร์อินเวอร์เตอร์แบบไม่มีตัวกลาง (microinverter) โดย Enphase เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยส่งเสริมให้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้ Enphase Energy ประสบความสำเร็จอย่างมากจนกลายเป็น อันดับ 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน Enphase Energy ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบ Microinverter ไปแล้วกว่า 48 ล้านเครื่อง […]

4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้ง Solar rooftop โครงการโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน

การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และ ขนาดการติดตั้งของโซลาเซลล์ แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ ชนิด Solar rooftop (โซลาเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา) ในกรณีของโซลาร์ เซลล์ภาคประชาชนมีเงื่อนไข คือ ระบบไฟฟ้ามอเตอร์ 1 Phase ขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ (PV)  ต้องมีขนาดไม่เกิน 5 kW และระบบไฟฟ้ามิเตอร์ 3 Phase ขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ (PV)  ต้องมีขนาดไม่เกิน 10 kW ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ 1. ยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง เพื่อขออนุญาต ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในเขตพื้นที่ เพื่อทำการดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคาก่อนทำการติดตั้ง สิ่งที่ต้องเตรียม เมื่อได้รับหลักฐานการอนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ก็ทำการติดตั้งได้เลย 2. ลงทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ. ได้ที่ https://www.erc.or.th/th/permit สิ่งที่ต้องเตรียม […]

เปรียบเทียบความแตกต่าง ไมโครอินเวอร์เตอร์ VS สตริง เวอร์เตอร์

ระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือ หนึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์จากรูปแบบกระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) ก่อนเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของตัวบ้านเพื่อนำไปใช้งานตามมาตรฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ ไมโครอินเวอร์เตอร์ และสตริง เวอร์เตอร์ ในวันนี้เราจะพาไปดูข้อดี ข้อเสีย พร้อมแนะนำว่าแบบไหนน่าสนใจกว่ากัน ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) ไมโครอินเวอร์เตอร์  (Micro Inverter) คือ อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้าน ไมโครอินเวอร์เตอร์จะติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผง และทำงานอย่างอิสระต่อกัน ส่งผลให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุดแม้มีแผงใดแผงหนึ่งมีปัญหาหรือได้รับเงาบัง ข้อดีของไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter)  มีข้อดีหลายประการเหนือกว่าอินเวอร์เตอร์แบบสตริง (String Inverter) ซึ่งเป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายแผงให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับในคราวเดียว ดังนี้ ประสิทธิภาพสูงสุด หากแผงเซลล์แสงอาทิตย์บางแผงถูกบังแสง แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหลือก็จะยังคงผลิตไฟฟ้าได้เต็มที่ เนื่องจากไมโครอินเวอร์เตอร์แต่ละตัวทำงานอย่างอิสระต่อกัน ความปลอดภัย ไมโครอินเวอร์เตอร์จะทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าต่ำ จึงมีความปลอดภัยสูงกว่าอินเวอร์เตอร์แบบสตริง ความยืดหยุ่น ไมโครอินเวอร์เตอร์สามารถติดตั้งได้กับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทุกประเภทและสามารถเพิ่มแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ในภายหลัง ตรวจสอบได้ สามารถตรวจดูการทำงานของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์  รวมถึงการผลิตไฟได้รายแผงผ่านแอปพลิเคชัน […]

บริการแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ Enlighten จาก Enphase

บริการ Enlighten แอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ จาก Enphase เป็นระบบติดตามและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการทำงานและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบโซลาร์เซลล์ของตนได้อย่างสะดวก ซึ่งมีความสำคัญในการดูแลระบบโซลาร์ ข้อดีของบริการ Enlighten ข้อดีของบริการ Enlighten มีอะไรบ้าง การติดตามและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ Enlighten ช่วยในการติดตามและรายงานการทำงานของผลิตภัณฑ์ไมโครอินเวอร์เตอร์ของระบบโซลาร์ Enphaseซึ่งสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพ, ผลิตผลิตภัณฑ์, และข้อมูลการผลิตไฟฟ้าได้ การแสดงผลข้อมูลการทำงานแบบกราฟ แสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟและแผนที่ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจข้อมูลง่ายขึ้นมีการแสดงผลข้อมูลการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ที่สะดวกและเข้าใจได้ง่าย ทั้งรายชั่วโมง, รายวัน, รายเดือน, และรายปี การแจ้งเตือนข้อผิดพลาดและการแก้ไขปัญหา ระบบสามารถส่งการแจ้งเตือนทันทีผ่านทางอีเมลหรือแอปพลิเคชันในกรณีที่มีปัญหาหรือปัญหาในระบบ ช่วยในการตรวจสอบและสามารถแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว การตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ Enlighten ช่วยในการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของไมโครอินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ในระบบ ช่วยในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมบอกแนวทางในการแก้ไข ขั้นตอนการสร้างบัญชีใช้งาน Enlighten เพื่อให้เข้าถึงบริการ Enlighten, ผู้ใช้จำเป็นต้องมีบัญชีผู้ใช้ Enlighten 1.ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้ที่เว็บไซต์ https://enlighten.enphaseenergy.com/ หรือผ่านแอปพลิเคชัน Enlighten 2. การเชื่อมต่อระบบโซลาร์เซลล์ หลังจากมีบัญชี, ผู้ใช้ต้องทำการเชื่อมต่อระบบโซลาร์ Enphase ของตนกับบัญชี Enlighten การเชื่อมต่อนี้ทำผ่านการใส่รหัสเครื่อง Envoy ที่ติดตั้งในระบบโซลาร์เซลล์ของผู้ใช้ 3. การเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ เมื่อระบบโซลาร์เชื่อมต่อเรียบร้อย, ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ของระบบได้ทันที […]

Solar Panels คืออะไร ทำงานอย่างไร มีประโยชน์อะไรบ้าง

แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panels) คือแผงอุปกรณ์ที่ใช้แสงแดดในการผลิตไฟฟ้าของระบบ Solar Rooftop โดยการทำงานโดยการใช้แสงแดดและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้า เพื่อใช้ประโยชน์จากแสงแดดอย่างมีประสิทธิภาพและไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นสามารถใช้งานในบ้านหรืออาคารโดยตรงได้ นี้ทำให้สามารถผลิตพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนได้ แผงโซลาร์เซลล์ทำงานอย่างไร แผงโซลาร์เซลล์ทำงานโดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า การทำงานของแผงโซลาร์เซลล์อาศัยหลักการของโฟโตโวลตาอิก (photovoltaic) ซึ่งหมายถึง การที่วัสดุบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง แผงโซลาร์เซลล์ประกอบด้วยอะไรบ้าง แผงโซลาร์เซลล์ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมาก แต่ละเซลล์แสงอาทิตย์จะประกอบไปด้วยชั้นของวัสดุกึ่งตัวนำ 2 ชั้น ชั้นหนึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด N (N-type) และอีกชั้นหนึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด P (P-type) เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ แสงอาทิตย์จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอนในชั้น N ของเซลล์แสงอาทิตย์ อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงจะหลุดออกจากอะตอมของสารกึ่งตัวนำ N และกลายเป็นอิเล็กตรอนอิสระ อิเล็กตรอนอิสระเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปยังชั้น P ของเซลล์แสงอาทิตย์ ชั้น P ของเซลล์แสงอาทิตย์มีประจุบวกอยู่มาก อิเล็กตรอนอิสระจึงจะถูกดึงดูดไปที่ขั้วลบของเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในเซลล์แสงอาทิตย์ กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าแบบใด กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งยังไม่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้เพราะ ไฟฟ้ากระแสตรงที่เกิดจากแผงโซลาร์เซลล์มักมีแรงดันไฟฟ้าต่ำ จำเป็นต้องใช้ อินเวอร์เตอร์ หรือ Micro Inverter เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ก่อนนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ […]

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ด้วยระบบ Micro Inverter มีความคุ้มค่ายังไง ?

ในปัจจุบันมีคนนิยม ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มากขึ้น เนื่องจากช่วยในการประหยัดไฟได้ดี และไม่ต้องเผชิญปัญหากับค่าไฟแพง ๆ ในทุกเดือน โดยปกติแล้วโซลาร์เซลล์จะมีการติดตั้งอยู่ 3 ระบบประกอบไปด้วยระบบ On Grid ระบบ Off Grid และระบบ Hybrid แต่ในตอนนี้ระบบโซลาร์เซลล์มีการพัฒนาให้นวัตกรรมก้าวหน้ามากขึ้น ในขณะที่มีการใช้ไฟลดลง เรากำลังหมายถึงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วยระบบ Micro Inverter ซึ่งในวันนี้จะพาไปดูว่ามีความคุ้มค่ายังไง และติดตั้งผ่านผู้ให้บริการไหนดีที่สุด ความคุ้มค่าในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบ Micro Inverter ความคุ้มค่าในการติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ ขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ ระบบโซลาร์เซลล์ที่มีขนาดยิ่งใหญ่ก็จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถประหยัดค่าไฟได้มากขึ้นเช่นกัน พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า หากมีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมาก ก็จะยิ่งได้รับประโยชน์จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์มากขึ้น ทิศทางและระดับความลาดชันของหลังคา ทิศทางและระดับความลาดชันของหลังคา หลังคาที่หันไปทางทิศใต้และมีระดับความลาดชันที่เหมาะสมจะช่วยให้แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น ราคาของระบบโซลาร์เซลล์ ราคาของระบบโซลาร์เซลล์ ทั้งแผงโซลาร์และไมโครอินเวอร์เตอร์ มีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์มีต้นทุนที่ลดลง โดยทั่วไปแล้ว การติดตั้งโซลาร์เซลล์จะคุ้มค่าหากมีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมาก และสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของบ้านหรืออาคารนั้นๆ โดยจุดคุ้มทุนของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในประเทศไทยในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3-6 ปี สำหรับบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก การติดตั้งโซลาร์เซลล์อาจไม่คุ้มค่า เนื่องจากต้องใช้เวลานานกว่าที่จะคืนทุน แต่สำหรับบ้านหรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้ามากและต้องการประหยัดค่าไฟในระยะยาว […]

หลังคาที่เหมาะติดตั้ง “Solar rooftop” ควรมีลักษณะอย่างไร

ถึงแม้ว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์จะสามารถติดตั้งกับหลังคาส่วนใหญ่ได้ทุกแบบ แต่การตรวจสอบความเหมาะสมของหลังคา จะช่วยให้การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เป็นไปอย่างเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ในวันนี้ Electronmove จะแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของหลังคาที่เหมาะสมต่อการติดตั้ง Solar Rooftop โดยมีสิ่งที่ควรพิจารณาดังนี้ ทิศทางของหลังคา หลังคาควรที่หันทางทิศใต้ ซึ่งจะเป็นทิศที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับประเทศไทย เนื่องจากเป็นด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุดของวัน แต่อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนทิศตะวันออกและทิศตะวันตกสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการด้วยเช่นกัน ระยะองศา การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมควรอยู่ที่มุมเอียงระหว่าง 15 – 40 องศา ถึงแม้ว่าหลังคาของคุณจะเป็นแบบหลังคาทรงแบน แต่ถ้าติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้มุมองศาที่กำหนด จะช่วยให้โซล่าเซลล์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพสูงสุด ขนาดและรูปร่าง การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้น รูปร่างและขนาดของหลังคาเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งหลังคาที่เหมาะสมกับการติดโซล่าเซลล์มากที่สุด คือ หลังคาที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่กว้าง หลังคาที่มีรูปทรงอื่นอาจทำให้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยลง และหลังติดตั้งต้องมีที่ว่างอย่างน้อย 20% เพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษา หลังคาไม่ควรมีเงามาบดบังหรือตกกระทบ สำรวจทิศทางของเงาที่ตกกระทบลงมาบดบังตรงบริเวณที่ต้องการติดโซล่าเซลล์ ถ้ามีเงาของต้นไม้หรือตึกสูงบังบริเวณที่หลังคา อาจทำให้โซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่ สภาพอายุการใช้งานของหลังคา หลังคาต้องรองรับน้ำหนักได้ 50 กิโลกรัม/ตารางเมตร สำหรับอุปกรณ์การติดตั้งและแผงโซลาร์เซลล์ ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปีหลังจากติดตั้ง ดังนั้นก่อนการติดตั้ง ควรให้วิศวกรตรวจสอบสภาพของหลังคาว่ายังเหมาะสมอยู่หรือไม่ และจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงในอนาคตอันใกล้หรือยัง หากว่าสภาพยังดีและไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุง ก็สามารถติดตั้งได้ ชนิดของวัสดุหลังคา แผงโซล่าเซลล์สามารถติดตั้งได้บนวัสดุเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ไม้ กระเบื้อง ซีเมนต์ หินชนวน โลหะ […]

มาตรฐาน IP rating คืออะไร ทำไม Enphase ต้องผ่านมาตรฐาน IP rating

มาตรฐาน IP หรือ International Protection Standard ตามมาตรฐาน IEC 60529 หรือบางครั้งถูกตีความเป็น Ingress Protection Rating คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529 ระดับการป้องกัน การบอกถึงระดับการป้องกันนั้นหลักๆแล้วจะถูกแสดงโดยตัวเลข 2 หลักคือ IP XX โดยหลักแรกจะหมายถึงระดับการป้องกันของฝุ่นหรือการสัมผัสโดยบังเอิญ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-6 ส่วนหลักที่สองจะหมายถึงระดับการป้องกันน้ำ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-9  ยกตัวอย่างเช่น IP65 หมายถึง ป้องกันฝุ่นและน้ำจากการฉีดได้ 100% เป็นต้น ตัวเลขหลักที่ 1 : การป้องกันของแข็ง ระดับการป้องกันของแข็งซึ่งของแข็งที่กล่าวนี้หมายถึงการป้องกันการเข้าถึง(เข้าไปในตัวอุปกรณ์) ของฝุ่นหรือการสัมผัสโดยบังเอิญเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระแทกจากของแข็ง โดยการป้องกันของแข็งจะมีตั้งแต่ระดับ 0-6 ดังนี้ ระดับ […]

ระบบ Rapid Shutdown ใน Micro Inverter คืออะไร

Rapid Shutdown หรือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยจะมีจุดประสงค์สามารถหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว ทำหน้าที่ลดแรงดันในระดับที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้ระบบโซล่าเซลล์ เพื่อให้แน่ใจว่าบนหลังคาของอาคารมีสภาพที่ปลอดภัยในระหว่างพนักงานดับเพลิงหรือ ผู้ปฏิบัติงานของการไฟฟ้าปฏิบัติงาน เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ลดความเสียหาย และสามารถช่วยชีวิตของผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้อย่างปลอดภัย คุณสมบัติของ Rapid shutdown Rapid Shutdown หรือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยเมื่อมีการเปิดการทำงานจะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า “วงจรโซลาร์เซลล์อยู่นอกขอบเขต” จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 30 โวลต์ภายใน 30 วินาที และ ”วงจรโซลาร์เซลล์อยู่ในขอบเขต” จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 80 โวลต์ภายใน 30 วินาที ระบบ Rapid Shutdown จะทำให้แรงดันไฟอยู่ในระดับที่ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟดูดในการเกิดอันตรายต่อพนักงานดับเพลิงหรือ ผู้ปฏิบัติงานของการไฟฟ้า โดยไม่ต้องสัมผัสกับสายไฟหรือไฟฟ้าแรงดันสูงโดยตรง จะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งต้องมีผลการทดสอบ ตามขั้นตอน หรือ ใบรับรอง ตามมาตรฐาน UL 3741 โดยรายงานผลการทดสอบต้องออกโดยสถาบันหรือหน่วยงานทดสอบที่เป็นกลาง และได้มาตรฐาน […]