หลังคาที่เหมาะติดตั้ง “Solar rooftop” ควรมีลักษณะอย่างไร

ถึงแม้ว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์จะสามารถติดตั้งกับหลังคาส่วนใหญ่ได้ทุกแบบ แต่การตรวจสอบความเหมาะสมของหลังคา จะช่วยให้การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เป็นไปอย่างเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ในวันนี้ Electronmove จะแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของหลังคาที่เหมาะสมต่อการติดตั้ง Solar Rooftop โดยมีสิ่งที่ควรพิจารณาดังนี้ ทิศทางของหลังคา หลังคาควรที่หันทางทิศใต้ ซึ่งจะเป็นทิศที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับประเทศไทย เนื่องจากเป็นด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุดของวัน แต่อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนทิศตะวันออกและทิศตะวันตกสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการด้วยเช่นกัน ระยะองศา การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมควรอยู่ที่มุมเอียงระหว่าง 15 – 40 องศา ถึงแม้ว่าหลังคาของคุณจะเป็นแบบหลังคาทรงแบน แต่ถ้าติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้มุมองศาที่กำหนด จะช่วยให้โซล่าเซลล์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพสูงสุด ขนาดและรูปร่าง การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้น รูปร่างและขนาดของหลังคาเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งหลังคาที่เหมาะสมกับการติดโซล่าเซลล์มากที่สุด คือ หลังคาที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่กว้าง หลังคาที่มีรูปทรงอื่นอาจทำให้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยลง และหลังติดตั้งต้องมีที่ว่างอย่างน้อย 20% เพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษา หลังคาไม่ควรมีเงามาบดบังหรือตกกระทบ สำรวจทิศทางของเงาที่ตกกระทบลงมาบดบังตรงบริเวณที่ต้องการติดโซล่าเซลล์ ถ้ามีเงาของต้นไม้หรือตึกสูงบังบริเวณที่หลังคา อาจทำให้โซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่ สภาพอายุการใช้งานของหลังคา หลังคาต้องรองรับน้ำหนักได้ 50 กิโลกรัม/ตารางเมตร สำหรับอุปกรณ์การติดตั้งและแผงโซลาร์เซลล์ ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปีหลังจากติดตั้ง ดังนั้นก่อนการติดตั้ง ควรให้วิศวกรตรวจสอบสภาพของหลังคาว่ายังเหมาะสมอยู่หรือไม่ และจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงในอนาคตอันใกล้หรือยัง หากว่าสภาพยังดีและไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุง ก็สามารถติดตั้งได้ ชนิดของวัสดุหลังคา แผงโซล่าเซลล์สามารถติดตั้งได้บนวัสดุเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ไม้ กระเบื้อง ซีเมนต์ หินชนวน โลหะ […]

มาตรฐาน IP rating คืออะไร ทำไม Enphase ต้องผ่านมาตรฐาน IP rating

มาตรฐาน IP หรือ International Protection Standard ตามมาตรฐาน IEC 60529 หรือบางครั้งถูกตีความเป็น Ingress Protection Rating คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529 ระดับการป้องกัน การบอกถึงระดับการป้องกันนั้นหลักๆแล้วจะถูกแสดงโดยตัวเลข 2 หลักคือ IP XX โดยหลักแรกจะหมายถึงระดับการป้องกันของฝุ่นหรือการสัมผัสโดยบังเอิญ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-6 ส่วนหลักที่สองจะหมายถึงระดับการป้องกันน้ำ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-9  ยกตัวอย่างเช่น IP65 หมายถึง ป้องกันฝุ่นและน้ำจากการฉีดได้ 100% เป็นต้น ตัวเลขหลักที่ 1 : การป้องกันของแข็ง ระดับการป้องกันของแข็งซึ่งของแข็งที่กล่าวนี้หมายถึงการป้องกันการเข้าถึง(เข้าไปในตัวอุปกรณ์) ของฝุ่นหรือการสัมผัสโดยบังเอิญเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระแทกจากของแข็ง โดยการป้องกันของแข็งจะมีตั้งแต่ระดับ 0-6 ดังนี้ ระดับ […]

ระบบ Rapid Shutdown ใน Micro Inverter คืออะไร

Rapid Shutdown หรือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยจะมีจุดประสงค์สามารถหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว ทำหน้าที่ลดแรงดันในระดับที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้ระบบโซล่าเซลล์ เพื่อให้แน่ใจว่าบนหลังคาของอาคารมีสภาพที่ปลอดภัยในระหว่างพนักงานดับเพลิงหรือ ผู้ปฏิบัติงานของการไฟฟ้าปฏิบัติงาน เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ลดความเสียหาย และสามารถช่วยชีวิตของผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้อย่างปลอดภัย คุณสมบัติของ Rapid shutdown Rapid Shutdown หรือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยเมื่อมีการเปิดการทำงานจะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า “วงจรโซลาร์เซลล์อยู่นอกขอบเขต” จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 30 โวลต์ภายใน 30 วินาที และ ”วงจรโซลาร์เซลล์อยู่ในขอบเขต” จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 80 โวลต์ภายใน 30 วินาที ระบบ Rapid Shutdown จะทำให้แรงดันไฟอยู่ในระดับที่ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟดูดในการเกิดอันตรายต่อพนักงานดับเพลิงหรือ ผู้ปฏิบัติงานของการไฟฟ้า โดยไม่ต้องสัมผัสกับสายไฟหรือไฟฟ้าแรงดันสูงโดยตรง จะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งต้องมีผลการทดสอบ ตามขั้นตอน หรือ ใบรับรอง ตามมาตรฐาน UL 3741 โดยรายงานผลการทดสอบต้องออกโดยสถาบันหรือหน่วยงานทดสอบที่เป็นกลาง และได้มาตรฐาน […]

ติดตั้ง Solar Rooftop พลังงานสะอาด ช่วยประหยัดค่าไฟได้แค่ไหน

Solar Rooftop เป็นระบบการติดตั้งแผงโซลาร์ (Solar Panels) บนหลังคาของอาคารหรือบ้าน เพื่อใช้แสงแดดในการผลิตไฟฟ้า ระบบนี้มีการทำงานโดยการใช้แสงแดดและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้า เพื่อใช้ประโยชน์จากแสงแดดอย่างมีประสิทธิภาพและไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นสามารถใช้งานในบ้านหรืออาคารโดยตรงได้นี้ทำให้สามารถผลิตพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนได้ สารบัญ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop แบ่งได้ 3 ระบบ คือ ระบบออนกริด (On-Grid) ระบบออฟกริด (Off-Grid) และระบบไฮบริด (Hybrid) ซึ่งแต่ละระบบมีความแตกต่างกันออกไปทั้งวิธีการทำงาน ประสิทธิภาพ รวมไปถึงความคุ้มค่าในการประหยัดค่าใช้ไฟฟ้า ระบบออนกริด (On-Grid) ระบบ On-Grid เป็นระบบการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยการเชื่อมต่อและขออนุญาติกับเครือข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมขนานไฟหรือการขายไฟให้การไฟฟ้า การทำงานของระบบ On-Grid แผงโซลาร์ (Solar Panels) จะจับแสงแดดและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าตรงโดยใช้อินเวอร์เตอร์ (inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าแบบตรง (DC) เป็นกระแสไฟฟ้าแบบสลับ (AC) ที่สามารถใช้งานในบ้านหรืออาคารได้ ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากแผงโซลาร์จะถูกนำเข้าเครือข่ายของการไฟฟ้า (Grid) เพื่อใช้ในบ้านหรืออาคาร หากมีไฟฟ้าเหลือเกินความต้องการของบ้าน ไฟฟ้าที่เหลือเกินมานี้สามารถขายกลับให้กับการไฟฟ้าได้ ประสิทธิภาพของระบบ On-Grid ระบบ […]

Enphase Thailand เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงจากพลังงานแสงอาทิตย์

เบื้องต้นเมื่อพูดถึงพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์พาวเวอร์ (solar power) บางคนอาจนึกถึงแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ (inverters) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในบทความนี้เราจะพาไปสำรวจเทคโนโลยีและบริษัทชั้นนำที่เชื่อมโยงกับการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้คุณเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Enphase และความสำคัญของไมโครอินเวอร์เตอร์ สารบัญ Enphase Energy บริษัทผู้นำด้านไมโครอินเวอร์เตอร์ Enphase Energy, Inc. เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 และมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัทนี้เป็นผู้นำในการพัฒนาและผลิตไมโครอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในระบบโซลาร์เซลล์เพื่อแปลงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะที่นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในผลิตภัณฑ์ บริษัท Enphase ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคและผู้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ทั่วโลก คุณสมบัติของ Enphase ไมโครอินเวอร์เตอร์ Enphase มีคุณสมบัติและข้อได้เปรียบที่ทำให้บริษัทนี้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ดังนี้ 1. ความมั่นคงและความทนทาน ไมโครอินเวอร์เตอร์ Enphase มีการออกแบบให้ผ่านมาตรฐาน IP67 ให้ทนทานต่อสภาวะอากาศและสภาวะสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งานทางกายภาพ จากประสบการณ์ที่ติดตั้งกว่า 2,000 ตัว พบอุปกรณ์เสียเพียง 1 ตัว 2. การติดตั้งและการบำรุงรักษาที่ง่าย ไมโครอินเวอร์เตอร์ Enphase ติดตั้งง่าย และมีแอปพลิเคชันระบบการตรวจสอบปัญหาแบบระยะไกลที่ช่วยในการบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง […]

รู้จักระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง

บริษัทอิเลคตรอนมูฟ จะนำทุกคนไปรู้จักกับ “ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter)” ที่เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่นิยมในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับติดตั้งกับที่พักอาศัยมีขนาดไม่ใหญ่มาก เพื่อลดต้นทุนในการติดตั้งลงและเหมาะสมกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน สารบัญ ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) คืออะไร ไมโครอินเวอร์เตอร์  (Micro Inverter) คือ อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้าน ไมโครอินเวอร์เตอร์จะติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผง และทำงานอย่างอิสระต่อกัน ส่งผลให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุดแม้มีแผงใดแผงหนึ่งมีปัญหาหรือได้รับเงาบัง ประเภทของอินเวอร์เตอร์ (Inverter) มีอะไรบ้าง ประเภทของอินเวอร์เตอร์มีด้วย 2 ประเภท คือ สตริงอินเวอร์เตอร์ และไมโครอินเวอร์เตอร์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทจะทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแผงโซล่าเซลล์ให้เป็นกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้าน สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) จะรับพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ของโมดูลทั้งหมดในสตริง ซึ่งต้องเป็นประเภทเดียวกัน มีอัตรากำลังวัตต์เท่ากัน และหันหน้าไปทางดวงอาทิตย์ในมุมและทิศทางเดียวกันเพื่อผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด มาแปลงเป็นกระแส  AC จากนั้นจึงส่งกระแส AC ไปยังระบบไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคาร […]