Electron Move

สำหรับใครหลายคน ที่ตอนนี้กำลังหันมาให้ความสนใจในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การหาข้อมูลและคำนวณค่าใช้จ่ายโซล่าเซลล์ราคาต่าง ๆ ในการติดตั้ง เป็นเรื่องที่ใครหลาย ๆ คน ต้องคิดพิจารณาหาข้อมูลมาตัดสินใจในการเลือกว่าควรติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างไร

ในวันนี้ Electronmove รวบรวมข้อมูล และจะมาช่วยไกด์ “การคำนวณค่าใช้จ่าย สำหรับโซล่าเซลล์ราคาต่าง ๆ ว่าต้องดูอะไรบ้าง และจะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้านของเรา” ไปดูกันได้เลยที่บทความด้านล่างนี้

สารบัญ

เลือกโซลาร์เซลล์ให้เหมาะกับบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง

วิธีเลือกโซลาร์เซลล์ให้เหมาะกับบ้าน

1. รู้พฤติกรรมการใช้ไฟภายในบ้าน

ก่อนตัดสินใจติดโซล่าเซลล์ เราต้องรู้พฤติกรรมการใช้ไฟภายในบ้าน ทั้งช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน เพื่อคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับผู้อาศัยภายในบ้าน 

ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 เดือน บ้านของเราจ่ายค่าไฟฟ้าประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน โดยใช้ไฟช่วงกลางวัน 60 เปอร์เซ็นต์ ตกเป็นเป็นเงินประมาณ 6,000 บาท และกลางคืน 40 เปอร์เซ็นต์ ตกเป็นเป็นเงินประมาณ 4,000 บาท และมีค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.7 บาทต่อหน่วย

หลังจากนั้น ให้ดูการใช้ไฟฟ้าว่าใช้เดือนละกี่หน่วย และนำมาหารจำนวนวันทั้งเดือน จะได้เป็น กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (kWh) ซึ่งสามารถดูได้จากบิลค่าไฟประจำเดือน เช่น ใช้เดือนละ 2,000 หน่วย นำมาหาร 30 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟวันละประมาณ 67 หน่วยนั่นเอง

2. คำนวณขนาดระบบโซล่าเซลล์สําหรับบ้าน

โดยทั่วไปแล้ว ค่าเฉลี่ยการประหยัดไฟฟ้าของระบบโซลาร์เซลล์แต่ละขนาดนั้น จะประมาณการได้ ดังนี้

  • ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 3 กิโลวัตต์ ประหยัดไฟฟ้าได้เดือนละ 1,000 ถึง 1,500 บาท เหมาะกับบ้านที่ต้องจ่ายค่าไฟประมาณ 2,500 ถึง 3,000 บาท
  • ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ ประหยัดไฟฟ้าได้เดือนละ 2,500 ถึง 3,000 บาท เหมาะกับบ้านที่ต้องจ่ายค่าไฟประมาณ 4,500 ถึง 5,000 บาท
  • ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ ประหยัดไฟฟ้าได้เดือนละ 5,500 ถึง 6,000 บาท เหมาะกับบ้านที่ต้องจ่ายค่าไฟประมาณ 9,000 ถึง 10,000 บาท

เมื่อทราบตัวเลขเฉลี่ยการประหยัดไฟฟ้าของระบบโซลาร์เซลล์แต่ละขนาดแล้ว เราก็สามารถวิเคราะห์ได้ว่าควรติดตั้งระบบขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม กับความต้องการของเราและพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในบ้าน

3. สอบถามค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกับบริษัทผลิตโซล่าเซลล์ผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อทราบพฤติกรรมการใช้ไฟของตัวเองแล้ว ควรปรึกษาเรื่องงบประมาณในการลงทุนกับบริษัทผลิตโซลาร์เซลล์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคำนวณราคาแผงโซล่าเซลล์ ที่จะนำไปใช้กับระบบโซลาร์เซลล์ในขนาดที่เราต้องการ คำนวณแผนการลงทุน และหาจุดคุ้มทุน จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาความคุ้มค่าสูงสุด

ติดโซลาร์เซลล์ระบบไหนดี มาดูข้อแตกต่างของแต่ละระบบกัน

ข้อแตกต่างของแต่ละระบบโซลาร์เซลล์

1. โซลาร์เซลล์ระบบออนกริด (On Grid)

โซลาร์เซลล์ระบบนี้ จะเป็นการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เฉพาะแค่ในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงแดด ก็จะเปลี่ยนไปดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้แทน 

โดยข้อดีของการติดโซล่าเซลล์ระบบนี้ คือ หากไฟฟ้าที่ผลิตได้เหลือใช้ เราก็สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ด้วย ลดปัญหาค่าไฟแพง แถมการติดโซล่าเซลล์ราคาก็ค่อนข้างถูกกว่าแบบอื่น ทำให้การติดโซลาร์เซลล์ระบบออนกริดจึงเป็นที่นิยมมากที่สุด

2. โซลาร์เซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid)

ระบบนี้ไม่ต้องพึ่งระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเหมือนแบบระบบออนกริด แต่จะเป็นการผลิตไฟฟ้าแล้วนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่สำรองไฟ ก่อนจะนำส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง

ข้อดีของโซล่าเซลล์แบบนี้คือเหมาะกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง หรือต้องการใช้ไฟฟ้าตอนกลางคืน แต่ข้อเสียคือเมื่อใดที่พลังงานที่สำรองหมด ก็จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ จนกว่าจะมีแสงอาทิตย์ให้ผลิตไฟฟ้าขึ้นใหม่ รวมถึงจะต้องมีค่าใช้จ่ายของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นมาด้วย ทำให้การติดโซล่าเซลล์บ้านแบบนี้ราคาสูงกว่าระบบออนกริดนั่นเอง

3. โซลาร์เซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid)

เรียกได้ว่าเป็นระบบลูกผสมระหว่างโซล่าเซลล์ออนกริดกับออฟกริด คือสามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะมีแบตเตอรี่สำรองพลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้ไฟได้ตอนกลางคืนหรือในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ 

ซึ่งในตอนที่มีแสงอาทิตย์ก็จะทำการผลิตไฟฟ้ากักเก็บเข้าแบตเตอรี่สำรองไว้ เพื่อนำมาให้ใช้ครั้งถัดไป ข้อดีคือ เหมาะกับบ้านที่จำเป็นต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน แต่ข้อเสียคือราคาของระบบนี้จะค่อนข้างสูงกว่าระบบอื่น ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน เนื่องจากต้องจ่ายในส่วนของแบตเตอรี่เพิ่มเติม รวมถึงการคืนทุนอาจจะใช้เวลามากกว่า 10 ปีก็เป็นได้

อยากเลือกขนาด Solar Cell ให้เหมาะกับบ้าน คำนวณผ่าน Electronmove Solar Calculator เลย

ซึ่งหากใครรู้สึกการคำนวณการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านด้วยตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยุ่งยาก และกลัวว่าจะคำนวณได้ผิดพลาด จนเลือกขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ได้ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

Electronmove ขอแนะนำตัวช่วยในการคำนวณ ซึ่งมาช่วยเราในการคำนวณปริมาณไฟที่ใช้อย่าง โปรแกรมคำนวณโซล่าออนไลน์ (Solar Calculator) ที่จะทำให้การคำนวณปริมาณไฟว่า เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไหร่อย่างคร่าว ๆ นั้นทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

ด้วยโปรแกรมคำนวณของเราที่สามารถเลือกได้ว่าระบบไฟของเราเป็นเฟสไหน ตั้งแต่เฟส 1, เฟส 3 จนไปถึงไม่ทราบเฟส ที่จำกำหนดเวลาไว้ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ไปจนถึง 6 โมงเย็น 

และยังมีตัวเลือกการใช้งานไฟฟ้าที่ครบครัน ทั้งในแบบที่สามารถระบุจำนวนอุปกรณ์และจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานได้อย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ , เครื่องปรับอากาศ (แอร์) , หลอดไฟ , ทีวี หรือเครื่องซักผ้า

และการใช้งานไฟฟ้าที่ระบุเพียงจำนวนอุปกรณ์ก็เพียงพออย่าง เช่น ตู้เย็น , เครื่องฟอกอากาศ , สระว่ายน้ำ , บ่อปลาคาร์ฟ , รถ Plug-in Hybrid หรือ เครื่องชาร์จ EV Charger

ซึ่งตัวระบบเมื่อเลือกประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและระบุจำนวนอุปกรณ์ รวมไปถึงระยะเวลาที่ใช้แล้ว ก็จะคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ออกมาเป็นค่าวัตต์ต่อชั่วโมง และกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง เพื่อให้ง่ายต่อการนำค่าที่ได้เหล่านี้ไปใช้ต่อนั่นเอง

ระบบโซล่าเซลล์ราคาต่าง ๆ จาก Electronmove

ปัจจุบัน ระบบโซล่าเซลล์ราคาต่าง ๆ จาก Electronmove สำหรับบ้าน โฮมออฟฟิศ ไปจนถึงโรงงานขนาดกลาง จะมีด้วยกัน 2 แพ็กเกจ คือ แพ็กเกจ Enphase IQ8P และแพ็กเกจ Huawei + Optimizer ซึ่งทั้ง 2 แพ็กเกจนี้ สามารถผ่อนชำระ 0% สูงสุด 10 เดือน ด้วยบัตรเครดิตกสิกร หรือบัตรเครดิตไทยพาณิชย์นั่นเอง

1. ระบบโซลาร์เซลล์ขนาดต่ำกว่า 10 kW

สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ขนาดต่ำกว่า 10 kW ในปัจจุบัน Electronmove จะมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ 3 อินเวอร์เตอร์ ได้แก่

  • Enphase Inverter 5.00 kW (1P) / 6.25 kW (3P) / 7.50 kW (3P)

Huawei + Optimizer 5.00 kW (1P)

แพ็กเกจที่ใช้อินเวอร์เตอร์ Enphase ที่ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ Jinko 625W N-type ซึ่งจะมีขนาดและจำนวนแผงที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

Enphase IQ8P

  • ขนาด 5.00 kW จำนวน 1 เฟส พร้อมอินเวอร์เตอร์ Enphase IQ8P ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 8 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 224,555 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

Enphase IQ8P 6.25 KW

  • ขนาด 6.25 kW จำนวน 3 เฟส พร้อมอินเวอร์เตอร์ Enphase IQ8P ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 10 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 4,000 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 280,555 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

Enphase IQ8P 7.50

  • ขนาด 7.50 kW จำนวน 3 เฟส พร้อมอินเวอร์เตอร์ Enphase IQ8P ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 12 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 4,600 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 318,555 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

ซึ่งนอกจากจะสามารถขายไฟให้การไฟฟ้าได้แล้ว ยังรับประกันการติดตั้ง 5 ปี รับประกัน INVERTER 15 ปี และรับประกันแผงโซลาร์เซลล์อีกถึง 30 ปี รวมถึงบริการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการล้างแผงฟรี 6 ครั้ง และตรวจเช็คประจำปีอีกด้วย

  • Huawei + Optimizer 5.00 kW (1P)

แพ็กเกจที่ใช้อินเวอร์เตอร์ SUN2000-5TKL – L1 ของ Huawei + Optimizer ที่ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ Jinko 625W N-type BIFACIAL ขนาด 5.00 kW จำนวน 1 เฟส ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 8 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 179,990 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

ซึ่งนอกจากจะสามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้แล้ว ยังรับประกันการติดตั้ง 5 ปี รับประกัน INVERTER 10 ปี และรับประกันแผงโซลาร์เซลล์อีกถึง 30 ปี รวมถึงบริการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการล้างแผงฟรี 6 ครั้ง และตรวจเช็คประจำปีอีกด้วย

2. ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 10 kW

สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 10 kW ในปัจจุบัน Electronmove จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ 2 อินเวอร์เตอร์ ได้แก่

  • Enphase Inverter 10.00 kW (3P)

Enphase Inverter 10.00 kW (3P)

แพ็กเกจที่ใช้อินเวอร์เตอร์ Enphase IQ8P ที่ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ Jinko 625W N-type ขนาด 10.00 kW จำนวน 3 เฟส ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 16 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 6,500 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 394,555 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

ซึ่งนอกจากจะสามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้แล้ว ยังรับประกันการติดตั้ง 5 ปี รับประกัน INVERTER 10 ปี และรับประกันแผงโซลาร์เซลล์อีกถึง 30 ปี รวมถึงบริการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการล้างแผงฟรี 6 ครั้ง และตรวจเช็คประจำปีอีกด้วย

  • Huawei + Optimizer 10.00 kW (3P)

Huawei + Optimizer 10.00 kW (3P)

แพ็กเกจที่ใช้อินเวอร์เตอร์ SUN2000-10TKL – M1 ของ Huawei + Optimizer ที่ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ Jinko 625W N-type BIFACIAL ขนาด 10.00 kW จำนวน 3 เฟส ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 16 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 6,000 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 329,999 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

ซึ่งนอกจากจะสามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้แล้ว ยังรับประกันการติดตั้ง 5 ปี รับประกัน INVERTER 10 ปี และรับประกันแผงโซลาร์เซลล์อีกถึง 30 ปี รวมถึงบริการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการล้างแผงฟรี 6 ครั้ง และตรวจเช็คประจำปีอีกด้วย

3. ระบบโซลาร์เซลล์ขนาดสูงกว่า 10 kW

สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ขนาดสูงกว่า 10 kW ในปัจจุบัน Electronmove จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ 2 อินเวอร์เตอร์ ได้แก่

  • Huawei + Optimizer 15.00 kW (3P) / 20.00 kW (3P)

แพ็กเกจที่ใช้อินเวอร์เตอร์ของ Huawei + Optimizer ที่ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ Jinko 625W N-type BIFACIAL ซึ่งจะมีขนาดและจำนวนแผงที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

Huawei + Optimizer 15.00 kW (3P) / 20.00 kW (3P)

  • ขนาด 15.00 kW จำนวน 3 เฟส พร้อมอินเวอร์เตอร์ SUN2000-15TKL – M1 ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 24 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 9,000 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 409,999 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

Huawei + Optimizer 15.00 kW (3P) / 20.00 kW

  • ขนาด 20.00 kW จำนวน 3 เฟส พร้อมอินเวอร์เตอร์ SUN2000-20TKL – M1 ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 32 แผง ลดค่าไฟได้เฉลี่ย 12,000 บาทต่อเดือน ราคาพร้อมติดตั้ง 529,999 บาท (*หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงขณะนั้น)

ซึ่งนอกจากจะสามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้แล้ว ยังรับประกันการติดตั้ง 5 ปี รับประกัน INVERTER 10 ปี และรับประกันแผงโซลาร์เซลล์อีกถึง 30 ปี รวมถึงบริการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการล้างแผงฟรี 6 ครั้ง และตรวจเช็คประจำปีอีกด้วย

สรุป

แม้การคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมกับบ้านของเรา จะดูวุ่นวายไปบ้าง แต่ก็จะทำให้เราสามารถประเมินคร่าว ๆ ได้ว่าบ้านของเราจำเป็นต้องใช้งานโซลาร์เซลล์ขนาดเท่าไหร่ และใช้ระบบโซล่าเซลล์ราคาประมาณไหน ซึ่งช่วยในการคำนวณกระแสการเงินของเรา ให้ไม่ติดขัดหากจะติดตั้ง

บริการ Electronmove ล้างแผงและตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์

ซึ่งหากใครที่สนใจอยากจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ด้วยทีมช่างชำนาญการที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านการวางระบบ ที่มาพร้อมบริการหลังการขายที่ครอบคลุม ก็สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove ของเรา หรือทาง Line Official @electronmove และช่องทางการติดต่อของ Electronmove เบอร์โทร : 093-659-4545 (เซลล์) 093-552-4444 (บริการหลังการขาย)

E-mail : support@electronmove.co.th