พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์อย่างโซลาร์เซลล์ เป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นได้เรื่อย ๆ โดยขึ้นอยู่กับว่ามีแสงแดดหรือไม่ ทำให้สำหรับบ้านบางหลังที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้น มองไปถึงเรื่องของการขายไฟให้การไฟฟ้า หากมีกำลังผลิตที่มากเกินกว่าที่ต้องการใช้
แต่การจะทำรูปแบบนี้ เราจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง มีวิธีการจัดการอย่างไร อีกอย่างที่สำคัญ คือราคาของการขายไฟคืนนี้ มีราคาเท่าไหร่กันแน่ Electronmove พามาหาคำตอบได้ในบทความนี้
สารบัญ
ระบบโซลาร์เซลล์แบบไหนที่สามารถขายไฟคืนได้
การขายไฟคืนให้กับทางการไฟฟ้า จำเป็นที่จะต้องเป็นระบบโซลาร์เซลล์ในระบบ On Grid ซึ่งเป็นระบบโซลาร์เซลล์แบบต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้า
การผลิตไฟฟ้าในระบบนี้ จะใช้แผงโซลาร์เซลล์ในการผลิตไฟฟ้า หลังจากนั้นจะจ่ายไฟให้กับอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะแปลงกระแสไฟฟ้า แล้วส่งต่อเข้ากับระบบไฟบ้านเพื่อใช้งานร่วมกันต่อไป
และหากกรณีที่ไม่มีแสงแดด หรือช่วงเวลากลางคืน ทำให้ระบบโซลาร์เซลล์ผลิตไฟไม่ได้ หรือไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ระบบก็จะทำการดึงไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาช่วยเสริม เพื่อให้ไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งานในขณะนั้นนั่นเอง
โดยระบบนี้จะช่วยลดค่าไฟในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่เน้นใช้ไฟในเวลากลางวันเยอะ ๆ ทำให้สามารถลดค่าไฟได้สูง 40 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และยังสามารถติดตั้งได้ทั้งบ้านพักอาศัย อาคารพานิชย์ โรงงาน และกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ อีกด้วย
ข้อดีของโซลาร์เซลล์ระบบ On Grid
- สามารถขายไฟคืนการไฟฟ้าได้ หากผลิตไฟได้เกินความต้องการที่จะใช้ ซึ่งกรณีนี้ จำเป็นต้องมีการลงทะเบียบและทำสัญญากับการไฟฟ้า เพื่อขอติดตั้งระบบ COD ที่เป็นระบบเกี่ยวกับการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์
- ช่วยประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น
- มีอุปกรณ์การติดตั้งไม่ยุ่งยากและน้อยชิ้นกว่าระบบ Off Grid ทำให้มีค่าซ่อมบำรุงที่ต่ำกว่า
- ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย หากใช้งานหนัก
ข้อเสียของโซลาร์เซลล์ระบบ On Grid
- ไม่สามารถสำรองพลังงานนำไปใช้ในช่วงเวลากลางคืน หรือไม่มีแดด เพราะไม่มีแบตเตอรี่สำรองสำหรับกักเก็บพลังงาน ทำให้ต้องเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแทน
- มีการเตรียมเอกสารเยอะ และใช้เวลาในการยื่นขอกับหน่วยงานต่าง ๆ พอสมควร
- มีค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาเพิ่มเติมเพื่อขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า
คุณสมบัติและเงื่อนไขที่มีสำหรับการขายไฟคืน
- ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 ของการไฟฟ้า ซึ่งเป็นประเภทบ้านอยู่อาศัย
- แผงโซลาร์เซลล์ต้องมีกำลังผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ สำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส และ 5 กิโลวัตตต์ สำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส ต่อ 1 ราย
- ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าจะต้องเป็นผู้ลงทุน ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์เองทั้งหมด
- ผู้ที่ยื่นเรื่องต่อการไฟฟ้าจะต้องเป็นเจ้าของเครื่องหน่วยวัดไฟฟ้า หรือมีชื่ออยู่ในบิลค่าไฟ ซึ่งจะต้องเป็นชื่อเดียวกัน ในกรณีที่เจ้าของบ้านคนเดิมถึงแก่ความตาย หรือเกิดการซื้อขายบ้าน ต้องยื่นเรื่องดำเนินการแก้ไขชื่อเจ้าของให้ถูกต้องเสียก่อน
- การไฟฟ้าจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา
- ราคาที่การไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินคือ 2.2 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี และปริมาณรับซื้อรวมในพื้นที่ของการไฟฟ้าคือ 5 เมกะวัตต์ต่อปี
อยากขายไฟคืนการไฟฟ้า จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การที่เราต้องการขายไฟที่ผลิตได้เกินจากโซลาร์เซลล์ของเราให้กับทางการไฟฟ้า มีเอกสารและการเตรียมตัวหลาย ๆ อย่างที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้ได้รับการอนุมัติ ซึ่งมีขั้นตอนหลายอย่าง ซึ่งทางเราได้สรุปเอาไว้ให้แล้ว ดังนี้
1. เตรียมเอกสารและรายละเอียดที่ใช้สำหรับการลงทะเบียนให้พร้อม โดยเอกสารที่จะต้องเตรียม มีดังนี้
-
- ข้อมูลเครื่องมือวัด
- ข้อมูลผู้ขอใช้บริการ
- ข้อมูลแผงโฟโตโวลตาอิก (แผงโซลาร์เซลล์)
- ข้อมูลระบบอินเวอร์เตอร์
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเครื่องวัดฯ หากเป็นนิติบุคคลต้องแนบหนังสือรับรองนิติบุคคลด้วย
- สำเนาค่าไฟฟ้าของอาคารที่ติดตั้งแผง
- เอกสารแสดงรายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์
- แผนผังแสดงที่ตั้งของสถานที่ติดตั้งแผง
- แผนภูมิระบบไฟฟ้าที่ผ่านการรับรองโดยวิศวกร
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประกอบอาชีพวิศวกร ที่ยังไม่หมดอายุ
- เอกสารแสดงรายละเอียดของระบบอินเวอร์เตอร์
- รูปถ่ายบ้านที่อยู่อาศัย หรืออาคารที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
*หากมอบอำนาจให้บริษัทรับติดตั้งดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
2. ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
3. ยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า Online ลงทะเบียนยื่นความจำนงได้ที่ https://myenergy.mea.or.th/ หรือ https://ppim.pea.co.th/
4. รอรับการแจ้งผล และประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือก เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า และลงนามซื้อขายภายในระยะเวลา 30 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนดคำขอก็จะถูกยกเลิกทันที
5. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกที่ลงนามสัญญากับการไฟฟ้า จะได้รับการติดต่อจากการไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบสายภายใน และทดสอบการติดตั้งให้ตรงกับรายละเอียดที่ยื่นไว้กับการไฟฟ้า
6. หากผลการตรวจสอบผ่านแล้ว การไฟฟ้าจะดำเนินการเปลี่ยนเครื่องวัดกระแสไฟเป็นแบบดิจิตอล ที่มีระบบการอ่านค่าไฟฟ้าที่ขายไฟคืนได้ และกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ซึ่งยอดการขายไฟจะถูกนำมาหักกับยอดของการใช้ไฟฟ้า หากมียอดขายไฟมากกว่ายอดการใช้ไฟเงินที่ได้ ก็จะถูกโอนเข้าบัญชีที่มีการแจ้งไว้ตอนทำสัญญา
แม้อาจจะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่หากทำไปทีละขั้นตอนอย่างครบถ้วนแล้วล่ะก็ จะสามารถจัดการได้อย่างแน่นอน
และหากใครที่ใช้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์กับทาง Electronmove ของเราแล้วล่ะก็ ทางทีมของเรา ก็จะช่วยลูกค้าที่ต้องการทำการยื่นเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อทำเรื่องการขายไฟคืนให้กับทางการไฟฟ้านั้นง่ายยิ่งกว่าเดิม เพราะทางเราดูแลให้ทั้งหมด
สรุป
สำหรับใครที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และมองเผื่อไปถึงในเรื่องของการขายไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้าแล้วล่ะก็ ต้องยอมรับว่ากว่าจะคืนทุนนั้นอาจต้องใช้เวลา ประมาณ 4 ถึง 10 ปี เลย โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงขนาดของโซลาร์เซลล์ที่เราติดตั้งอีกด้วย
โดยหากใครที่ไม่แน่ใจ ในเรื่องของโซลาร์เซลล์ สามารถที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่าง Electronmove เพื่อช่วยในการวางแผน และให้คำแนะนำในการออกแบบระบบโซลาร์เซลล์
เพราะเราคือ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการออกแบบ และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในสายงานมายาวนานกว่า 5 ปี มากพร้อมด้วยประสบการณ์และการการันตีกว่า 12 โครงการหมู่บ้าน รวมถึงยังมีบริการหลังการขายที่ครบครันให้แก่ผู้ใช้บริการ
นอกจากนั้น ระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งจากเรายังมีความปลอดภัยสูง แม้ว่าจะถูกฝนตกก็ไม่เกิดอาการช็อต ไม่มีกระแสนำไฟ และไม่ดึงดูดฟ้าผ่า อีกทั้ง ยังมีการป้องกันไฟไหม้ด้วยการติดตั้งแท่งไฟให้อีกด้วย เรียกได้ว่า “Save and Safe” เลยนั่นเอง
สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove ของเรา
- Line Official : @electronmove
- โทร : 093-659-4545 (เซลล์)
- โทร : 093-552-4444 (บริการหลังการขาย)
- E-mail : support@electronmove.co.th