Electron Move

การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และ ขนาดการติดตั้งของโซลาเซลล์ แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ ชนิด Solar rooftop (โซลาเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา) ในกรณีของโซลาร์ เซลล์ภาคประชาชนมีเงื่อนไข คือ ระบบไฟฟ้ามอเตอร์ 1 Phase ขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ (PV)  ต้องมีขนาดไม่เกิน 5 kW และระบบไฟฟ้ามิเตอร์ 3 Phase ขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ (PV)  ต้องมีขนาดไม่เกิน 10 kW

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์

1. ยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง

เพื่อขออนุญาต ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในเขตพื้นที่ เพื่อทำการดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคาก่อนทำการติดตั้ง

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์และรายละเอียดของการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา)

เมื่อได้รับหลักฐานการอนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ก็ทำการติดตั้งได้เลย

2. ลงทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ. ได้ที่ https://www.erc.or.th/th/permit

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
  • ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ที่เห็นครบชุดแผง อินเวอร์เตอร์
  • แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง
  • แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรโยธาลงนามรับรอง
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของ Inverter ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
  • สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟ
  • บิลค่าไฟฟ้า
  • ติดต่อ การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ

เมื่อผู้ติดตั้งได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตจากทากกพ. เรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการประสานงานต่อกับทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่ของการติดตั้ง เพื่อเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าต่อไป

3. แจ้ง การไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA

ทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการขายไฟหรือขอขนานไฟผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง (MEA): https://myenergy.mea.or.th/ การลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการขายไฟหรือขอขนานไฟผ่านเว็บไซต์ของการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) : https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco (ในส่วนของ PEA ไม่เข้าร่วมโครงการขายไฟให้เตรียมเอกสารไปยื่นกับการไฟฟ้าเขตของพื้นที่นั้นๆ)

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1
  • เอกสารแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
  • บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า
  • หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ โดยมิเตอร์ 1 เฟส จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 5kw. และมิเตอร์ 3 เฟส จะขอติดตั้งได้สูงสุด 10kw.
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของ Inverter ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
  • แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ใบกว.)
  • ข้อมูลของแผนที่ตั้ง รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซลาร์ครบทุกแผง

4. ยื่นสำเนาหนังสือรับ

เมื่อแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ จาก กกพ. และ กฟน. หรือ กฟภ. ผ่านเรียบร้อย จะต้องไปชำระค่าบริการต่างๆ ค่าขนาดไฟ และทำสัญญาซื้อขายไฟกับการไฟฟ้า (ในกรณีเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน) จากนั้นการไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบสายภายใน และระบบการผลิต เมื่อผ่านตามข้อกำหนดต่างๆแล้ว การไฟฟ้าก็จะทำการเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ และทำการเชื่อมต่อ COD กับระบบของการไฟฟ้า จากนั้นก็จะสามารถเริ่มใช้งานโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด

การติดตั้งไฟฟ้าระบบโซล่าเซลล์จำเป็นจะต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้านครหลวง pea , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย และการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีขั้นตอนที่เยอะและยุ่งยาก สำหรับลูกค้าของอิเลคตรอนมูฟ ทางบริษัทจะดำเนินการขั้นตอนให้ทั้งหมดโดยลูกค้าทำเอกสารมอบอำนาจให้บริษัทเป็นคนยื่นขออนุญาต