Electron Move

ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่าในปัจจุบัน ค่าไฟฟ้าของเมืองไทยนั้นกำลังถีบตัวสูงขึ้นจาก ปัญหาค่า Ft ที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลทำให้กระแสติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มเป็นที่นิยม ทั้งโรงงาน หรือบริษัทเอกชนต่าง ๆ แล้ว ยังรวมไปถึง บ้านเรือน ด้วยเช่นกัน 

แต่การติดโซลาร์เซลล์นี้จะช่วยลดค่าไฟไปได้มากแค่ไหน และโซลาร์เซลล์ ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง Electronmove ได้รวบรวมคำตอบของคำถามเหล่านั้นไว้ให้ในบทความนี้แล้ว

สารบัญ

หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์

หลักการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์

หลักการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ คือการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผงโซลาร์เซลล์, อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ อย่าง ตู้กระแสสลับ, มิเตอร์วัดกระแสสลับ, โครงข่ายไฟฟ้า และระบบความปลอดภัยนั่นเอง

โดยมีกระบวนการคือ เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับแผงโซชาร์เซลล์ ก็จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานจากความเข้มของแสง จนกลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง แล้วส่งต่อไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 

จากนั้นจึงส่งต่อไปยังตู้กระแสสลับ, มิเตอร์วัดกระแสสลับ และหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเพิ่มแรงดัน ก่อนที่สุดท้ายจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของบ้านเพื่อใช้งานต่อไป

และการจะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม กับการใช้งานของแต่ละบ้าน ก็จำเป็นที่จะต้องรู้พฤติกรรมการใช้ไฟอย่างสม่ำเสมอที่เกิดขึ้นทุกวันของบ้านหลังดังกล่าว ว่ามีการใช้งานอะไร อย่างไร และเท่าไหร่ในแต่ละวัน 

ซึ่งหากใครที่ต้องการทราบข้อมูลอย่างคร่าว ๆ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบโปรโมชั่นต่าง ๆ ของผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์เบื้องต้น เพื่อการตัดสินใจ 

เราขอแนะนำ Solar Calculator (โปรแกรมคำนวณโซล่าออนไลน์) จากเรา Electronmove ที่จะช่วยคำนวณการใช้งานไฟฟ้าอย่างคร่าว ๆ ได้นั่นเอง

ติดโซลาร์เซลล์ ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้างกันนะ

1. หมดปัญหาค่าไฟแพง ใช้ไฟฟรีในระยะยาว

โดยทั่วไปแล้ว การติดตั้งใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ จะมีอายุการใช้งานได้ยาวนานถึง 25 ปี และจะเข้าสู่จุดคุ้มทุน ในช่วง 2 ถึง 5 ปีแรกหลังติดตั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้ไฟ 

ทำให้ช่วงปีที่ 5 ถึงปีที่ 25 ผู้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ จะสามารถใช้งานพลังไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ฟรีไปตลอดอายุการใช้งานแผงนั่นเอง 

ซึ่งค่าไฟที่ลดไปได้ ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของระบบ และระยะเวลาการใช้งานไฟฟ้าที่แผงทำการผลิต แต่โดยส่วนมากจะสามารถช่วยลดค่าไฟได้สูงสุดถึง 60 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน

2. ลดปัญหาไฟตก

หลายบ้านที่อยู่ในชุมชนค่อนข้างหนาแน่น อาจเคยเจอปัญหากระแสไฟไม่เสถียรเกิดปัญหาไฟตกบ่อย ๆ ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสีย เพราะการขัดข้องของกระแสไฟที่เกิดขึ้นถี่เกินไป 

การติดโซลาร์เซลล์ที่มีแบตเตอรี่สำรองไฟไว้ในบ้าน ก็เท่ากับเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าให้บ้านได้เอง ทำให้เมื่อเกิดไฟดับ หรือไฟตก ก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ไป

3. ผลิตไฟฟ้าได้ แม้ในที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

เพราะแผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้จากแสงอาทิตย์ ดังนั้น จึงสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ในทุก ๆ ที่ที่มีแสงแดดส่องถึง นั่นยังรวมไปถึงในพื้นที่ที่การไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง 

โดยปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากแผง จะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดที่ได้รับในแต่ละพื้นที่นั่นเอง ซึ่งยังสามารถประยุกต์ไปใช้กับพื้นที่ทางการเกษตรต่าง ๆ ได้อีกด้วย

4. ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล

เนื่องจากในปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้ายังคงมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ซึ่งมีต้นทุนค่อนข้างสูงในการนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ทำให้อัตราค่าไฟฟ้าที่เราใช้สูงขึ้น 

โดยแปรผันตรงต่อต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและปริมาณการใช้งาน หากเปลี่ยนมาใช้แผงโซลาร์เซลล์ในการผลิตไฟฟ้าแทนเป็นวงกว้างแล้วล่ะก็ ก็จะทำให้สามารถลดจำนวนโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลลงได้

5. ช่วยลดความร้อนภายในบ้าน

ความร้อนภายในบ้าน

ปกติแล้ว หลังคาบ้านจะช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ และปกป้องบ้านจากความร้อน การมีแผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งเพิ่มเข้าไปอีกชั้น ก็จะเข้ามาช่วยสะท้อนแสงแดด เสมือนเป็นหลังคาอีกหนึ่งชั้นให้กับบ้าน 

ทำให้ลดการสะสมของความร้อน ที่จะเข้าสู่ตัวบ้านให้เย็นลงได้ราว 3 ถึง 5 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

6. ลดปัญหาการขาดแคลนไฟ

เมื่อมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมืองตามจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ย่อมนำมาซึ่งมาใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ปัจจุบันไทยยังคงต้องมีการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าฤดูอื่น 

หากบ้านเรือน หรือหน่วยงานต่าง ๆ หันมาผลิตไฟฟ้าใช้เอง ด้วยการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ก็เป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าลงได้

ข้อควรระวังในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้าน

1. คำนวนปริมาณการใช้ไฟฟ้าก่อนทำการติดตั้ง

เพื่อที่จะได้ประกอบแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในแต่ละบ้าน จะต้องคำนึงถึงพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวันของบ้านหลังนั้น ๆ 

เนื่องจากในแต่ละบ้านมีพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าแตกต่างกันไป ส่งผลให้ปริมาณของไฟฟ้าที่ถูกใช้มีจำนวนที่ไม่เท่ากัน นั่นยังรวมไปถึงพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งก็ไม่เหมือนกันด้วย 

นอกจากนี้ ยังจะต้องทำความเข้าใจกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์แต่ละชนิดภายในที่ใช้งาน ระยะเวลาที่จะต้องใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ และการหาแหล่งพลังงานสำรองในเวลาที่ไม่ใช่แผงโซลาร์เซลล์ด้วย 

สิ่งเหล่านี้ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยประเมินพลังงานไฟฟ้า ที่ต้องการใช้ในแต่ละวันกับขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ให้บริการติดตั้งแผงนั่นเอง

2. สำรวจความพร้อมของสถานที่

ก่อนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ควรมีการสำรวจความพร้อมของสถานที่ให้เรียบร้อย เนื่องจากโครงสร้างของบ้าน หรือทิศและมุมของหลังคานั้นอาจไม่เอื้ออำนวยต่อการติดตั้ง 

ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้แผงโซลาร์เซลล์ที่เราติดตั้งไป ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้อย่างไม่เต็มประสิทธภาพ 

โดยควรให้บริษัทผู้ติดตั้งที่เราใช้บริการเข้าไปสำรวจ และประเมินโครงสร้างเสียก่อน ถึงจะทำการติดตั้งแผงได้

3. เลือกประเภทของโซลาร์เซลล์

วิธีเลือกประเภทของโซลาร์เซลล์

  • โซลาร์เซลล์ประเภท Off Grid

เป็นโซล่าเซลล์ประเภทที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการทำงาน คือแผงโซล่าเซลล์จะผลิตพลังงานไฟฟ้านำมาใช้ และมีการเก็บเข้าแบตเตอรี่สำรอง 

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีแดด การผลิตไฟฟ้าอาจจะได้น้อยกว่าที่ควร ส่งผลให้มีพลังงานที่ได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 

แต่สามารถแก้ไขได้โดยเพิ่มปริมาณของแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่สำรอง เพื่อให้สามารถสร้างพลังงานได้เพียงพอต่อการใช้งาน

  • โซลาร์เซลล์ประเภท On Grid

โซลาร์เซลล์ประเภทนี้ จะมีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า หากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ก็สามารถที่จะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานได้ 

ทำให้โซลาร์เซลล์แบบนี้ ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรอง แม้จะประหยัดกว่าแบบ Off Grid แต่ก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาการไฟฟ้าอยู่นั่นเอง

  • โซลาร์เซลล์ประเภท Hybrid

โซลาร์เซลล์ประเภท Hybrid หรือการต่อโซล่าเซลล์แบบผสมระหว่างแบบ On Grid และ Off Grid โดยจะมีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า กับมีการติดตั้งแบตเตอรี่สำรองเพื่อกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตเกินไว้ใช้งาน 

โดยในตอนกลางวันจะใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์โดยตรง และในเวลากลางคืน ก็จะใช้พลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่สำรองแทน 

แต่ถ้าหากพลังงานที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ก็สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานทดแทนได้เช่นกัน

4. เลือกผู้ติดตั้งที่ชำนาญการ

ปัจจัยสำคัญอีกอย่างนึงที่ต้องคำนึงถึง คือการเลือกผู้ติดตั้งและการใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความปลอดภัยในการใช้งานระบบโซลาร์เซลล์ภายในบ้าน 

ซึ่งผู้ติดตั้งต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีการขออนุญาตจากภาครัฐอย่างถูกต้อง เมื่อเลือกที่จะใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในบ้าน จึงต้องเลือกผู้ติดตั้งที่น่าเชื่อถือและอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนั่นเอง

อยากติดโซลาร์เซลล์ด้วยช่างมากประสบการณ์ ไว้ใจ Electronmove

พวกเรา Electronmove คือผู้ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ และให้คำปรึกษาในด้านการออกแบบระบบโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย โรงงาน และบริษัท 

โดยเราเป็นตัวแทนติดตั้งของ MICROINVERTER ยี่ห้อ ENPHASE USA เจ้าแรกในไทย ซึ่งมียอดติดตั้งครบ 2,000 ตัว มากกว่า 200 หลัง ภายในเวลา 2 ปี

พร้อมทีมงานที่เป็นพนักงานประจํา ที่ได้คัดเลือกมาเป็นอย่างดี ทั้งหน้างาน และหลังการขายที่มีประสบการณ์ตรงในสายงาน และยึดมั่นเห็นผลประโยชน์ของลูกค้าสําคัญที่สุดเสมอ 

อีกทั้งทีมช่างของเรายังผ่านการอบรมมาตราฐานฝีมือจากการไฟฟ้าและหน่วยงานสากลที่เกี่ยวข้อง รับประกันได้ถึงคุณภาพในการติดตั้ง และยังให้การปรึกษาปัญหาระบบโซลาร์ได้ตลอดอายุการใช้งาน

อีกทั้งบริการหลังการขายของเรา ยังมีการล้างทําความสะอาดแผงโซลาร์ให้ทุก 6 เดือนเป็นเวลา 5 ปี และตรวจสอบพร้อมซ่อมบํารุงระบบทุกครั้งที่เข้าไปล้างแผง 

รวมถึงติดตามและวิเคราะห์ผลผลิตของระบบโซลาร์เซลล์ให้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และยังการีนตีทีมช่างเข้าหน้างาน เมื่อเกิดปัญหาของระบบโซลาร์เซลล์ 

โดยในปัจจุบัน ทาง Electronmove ได้มีแพ็กเกจพร้อมอินเวอร์เตอร์ และการขออนุญาตหน่วยงานราชการ อยู่ 3 แบบด้วยกัน ดังนี้

  • แพ็กเกจ Enphase IQ7A

เป็นราคาแพ็กเกจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ พร้อมอินเวอร์เตอร์ของ Enphase IQ7A รวมไปถึงการขออนุญาตหน่วยงานราชการ อีกทั้งยังรับประกันการติดตั้งระบบ 5 ปี, รับประกันอินเวอร์เตอร์ Enphase IQ7A อีก 15 ปี และรับประกันแผงโซล่าเซลล์อีกถึง 30 ปี 

โดยจะมีราคาพร้อมติดตั้งตั้งแต่ 199,990 ไปจนถึง 334,999 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานที่ต้องการของทางลูกค้า

  • แพ็กเกจ Huawei + Optimizer

เป็นราคาแพ็กเกจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ พร้อมอินเวอร์เตอร์ของ Huawei + Optimizer รวมไปถึงการขออนุญาตหน่วยงานราชการ อีกทั้งยังรับประกันการติดตั้งระบบ 5 ปี, รับประกันอินเวอร์เตอร์ Huawei + Optimizer อีก 10 ปี 

และรับประกันแผงโซล่าเซลล์อีกถึง 30 ปี โดยจะมีราคาพร้อมติดตั้งตั้งแต่ 179,990 ไปจนถึง 529,999 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานที่ต้องการของทางลูกค้า

  • แพ็กเกจเครื่องชาร์จรถยนต์ EV

เป็นราคาแพ็กเกจเครื่องชาร์จรถยนต์ EV พร้อมอินเวอร์เตอร์ของ Autel Maxicharger AC Wallbox ซึ่งเป็นอุปกรณ์ติดตั้งคุณภาพสูงจาก ABB และ Yazaki พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยจาก BlazeCut T Series ของประเทศสโลวาเกีย 

และยังผ่านการรับรองมาตรฐาน IP65 สำหรับการใช้งานในที่แจ้ง รวมถึงสามารถใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น และ Bluetooth ได้อีกด้วย

Autel Maxicharger AC Wallbox

โดยตัวเครื่องจะมีการรับประกันตัวเครื่องยาวนานถึง 3 ปี และมีราคาติดตั้งอยู่ที่ 38,800 ไปจนถึง 44,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเดินจากวงจรไฟฟ้าในตู้โหลดเดิม หรือเดินวงจรไฟฟ้าใหม่คู่ขนานกับวงจรเดิมจากมิตเตอร์ไฟไปยังจุดติดตั้ง 

พร้อมบริการเสริม AFTER-SALES SERVICE ที่สามารถซื้อเพิ่มได้ ที่จะเป็นการเข้าไปดูแลซ่อมบำรุงระบบเครื่องชาร์จรถยนต์ EV และโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง 

ซึ่งจะแบ่งบริการเป็น Starter, Standard และ Premium ที่จะมีราคาตั้งแต่ 2,250 ไปจนถึง 4,700 บาทสำหรับลูกค้าทั่วไป แต่หากเป็นลูกค้าของ Electronmove จะได้ในราคาตั้งแต่ 1,899 ไปจนถึง 3,999 บาทนั่นเอง

สรุป

พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในยุคนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 

และอย่างที่ทราบกันดี ไฟฟ้าได้กลายเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบโซลาร์เซลล์จึงกลายมาเป็นอีกทางออกที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน 

ซึ่งหากใครที่สนใจที่จะใช้บริการให้ทาง Electronmove เข้าไปติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้แล้วล่ะก็ สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove ของเรา

หรือช่องทาง Youtube “Enphase solar x Electronmove” https://www.youtube.com/@enphase_electronmove/featured