สำหรับใครที่กำลังคิดและตัดสินใจว่าจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อที่จะประหยัดค่าไฟจากนี้ไปตามเทรนด์ที่นิยมในปัจจุบัน มีเรื่องที่ควรรู้ก่อนการติดตั้งอยู่มากมาย นั่นรวมไปถึงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเสียหน่อย เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และไม่โดนมิจฉาชีพที่หวังจะเข้ามาหลอกนั้น หลอกเข้าให้นั่นเอง ไปดูเนื้อหาในบทความนี้กัน
Table of Contents
ทำความเข้าใจการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อยากติดโซล่าเซลล์ต้องรู้
สำหรับใครที่กำลังคิดและตัดสินใจว่าจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อที่จะประหยัดค่าไฟจากนี้ไปตามเทรนด์ที่นิยมในปัจจุบัน มีเรื่องที่ควรรู้ก่อนการติดตั้งอยู่มากมาย นั่นรวมไปถึงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเสียหน่อย เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และไม่โดนมิจฉาชีพที่หวังจะเข้ามาหลอกนั้น หลอกเข้าให้นั่นเอง ไปดูเนื้อหาในบทความนี้กัน
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เขาทำอะไรบ้างกันนะ
1. ติดตั้งโครงสร้างแผงโซล่าเซลล์
สำหรับบ้านเรือน หรืออาคารต่าง ๆ ก่อนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะต้องมีการสำรวจความพร้อมของโครงสร้างเดิมที่จะติดตั้งลงไปก่อน โดยเฉพาะบริเวณหลังคาของบ้าน หรือดาดฟ้าอาคาร ซึ่งทาง Electronmove จะส่งช่างมาทำการตรวจสอบโครงสร้างหลังคาก่อนติดตั้งเสมอ ๆ
และจะต้องมีการออกแบบและติดตั้งวัสดุยึดแผง หรือ Solar Mounting เพื่อเสริมความแข็งแรงในการรองรับน้ำหนักแผง ป้องกันการทรุดตัวของตัวหลังคา ไม่ทำให้เกิดการรั่วซึมจากแนวกระเบื้องที่ไม่แนบสนิท ซึ่งหากไม่มีการติดตั้งจะเกิดปัญหา และผลกระทบในภายหลังการติดตั้งได้ ตั้งแต่การทรุดตัวของหลังคาจนถล่ม และอาจส่งผลไปถึงโครงสร้างของตัวบ้าน ที่อาจเกิดรอยแตกร้าวจากน้ำหนักที่ต้องแบกรับ
2. ติดแผงโซล่าเซลล์เข้ากับโครงสร้าง
ก่อนจะไปถึงเรื่องของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าในปัจจุบัน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มีกี่แบบกันแน่ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้
- ระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด (On Grid) : ที่จะสามารถสลับใช้ไฟจากทางการไฟฟ้า และโซล่าเซลล์ รวมทั้งสามารถขายไฟคืนให้กับทางการไฟฟ้าได้ แต่จะไม่มีแบตเตอรี่สำรองไฟ
- ระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด (Off Grid) : ที่จะมีแบตเตอรี่สำรองไฟไว้ใช้ในยามกลางคืนหรือฉุกเฉิน แต่ไม่สามารถขายไฟคืนการไฟฟ้าได้
- ระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริด (Hybrid) : เป็นระบบแบบผสมที่สามารถสลับใช้ไฟจากทางการไฟฟ้า และโซล่าเซลล์ รวมไปถึงสำรองไฟได้จากการที่มีแบตเตอรี่สำรองไฟ แต่ไม่สามารถขายไฟคืนการไฟฟ้าได้
และหลังจากที่มีการจัดซื้อแผงโซล่าเซลล์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับงบประมาณ หรือความต้องการ และตามจำนวนที่มีการคำนวณ ว่าเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านเรียบร้อยแล้ว ก็จะมาถึง วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เข้ากับตัวโครงสร้าง
โดยในขั้นตอนต่อมา คือ การนำแผงโซล่าเซลล์มายึดกับโครงสร้างตามแบบแปลน ที่ได้มีการออกแบบไว้โดยวิศวกรที่มีความชำนาญ ในกระบวนการนี้ ช่างจะดำเนินการนำแผงโซล่าเซลล์ทยอยขึ้นไปติดตั้ง โดยจะหันแผงไปยังทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นทิศตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากทิศทางนี้ ในประเทศไทยจะได้รับแสงอาทิตย์ยาวนานมากที่สุด โดยมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ องศาความลาดเอียงอยู่ที่ประมาณ 15 ถึง 20 องศา
3. ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า
เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จะเป็นรูปแบบกระแสตรง (DC) ซึ่งหากจะนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า อินเวอร์เตอร์ มาทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับ (AC) เสียก่อน
ซึ่งการเลือกอินเวอร์เตอร์นั้น ควรพิจารณาจากลิสต์รายชื่อที่ผ่านการตรวจสอบ และรับรองโดยการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะบ้าน หรือหน่วยงานที่จะดำเนินการเชื่อมต่อขนานไฟกับการไฟฟ้า ซึ่งจะต้องยื่นขออนุญาต และต้องได้รับการตรวจสอบให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานก่อน จึงจะดำเนินการขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้
อีกทั้ง ควรคํานวณขนาดอินเวอร์เตอร์ ด้วยการคํานวณกําลังไฟฟ้ารวมที่ใช้ (Total Watt) ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด แล้วเลือกอินเวอร์เตอร์ที่มีกําลังไฟฟ้า ให้มากกว่ากําลังไฟฟ้ารวมที่คํานวณได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
4. ติดตั้งเครื่องควบคุมการชาร์จ หรือ Solar Charge Controller
สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่เป็นระบบพึ่งตัวเอง ไม่ได้อาศัยไฟฟ้าจากระบบสายส่ง หรือที่เรียกกันว่า ระบบออฟกริด ในวิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ระบบนี้ จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อควบคุมการประจุไฟฟ้าเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ หรือ Solar Charge Controller เพื่อไว้ใช้งานในช่วงเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงอาทิตย์ ที่ทำให้ระบบโซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้ว ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยควบคุมความเสถียรในการชาร์ต และช่วยลดปัจจัยที่จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วลงไปอีกด้วย
5. ทำการเดินสายไฟเพื่อใช้งานภายในบ้าน
ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ จะติดตั้งท่อร้อยสายไฟ และเดินสายเชื่อมต่อจากแผงโซล่าเซลล์ พ่วงเข้ากับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งอินเวอร์เตอร์, Solar Charge Controller, แบตเตอรี่ และรวมสายทุกจุดมารวมไว้ที่ตู้ควบคุม ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการบริหารระบบโซล่าเซลล์ หลังจากนั้นจะมีการทดลองการใช้งานจริง เพื่อตรวจเช็กอีกครั้งว่าระบบสามารถใช้งานได้เป็นปกติ ไม่มีความบกพร่อง และจึงเชื่อมต่อกลับเข้าไปในบ้าน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามที่วางแผนไว้
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ราคาประมาณเท่าไร?
ปัจจุบัน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ราคาจะแตกต่างกันไปในเรื่องของขนาด ซึ่งจะแบ่งได้คร่าว ๆ ดังนี้
- บ้านที่ต้องการจะติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์ขนาด 2 ถึง 3 กิโลวัตต์ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 170,000 ถึง 200,000 บาท
- บ้านที่ต้องการจะติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์ขนาด 4 ถึง 6 กิโลวัตต์ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 ถึง 300,000 บาท
- บ้านที่ต้องการจะติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์ขนาด 9 ถึง 20 กิโลวัตต์ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 300,000 ถึง 500,000 บาท
ปัจจุบันแพ็กเกจของ Electronmove จะครอบคลุมในเรื่องของการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน โฮมออฟฟิศ และโรงงานขนาดเล็กไปจนถึงระดับกลาง รวมไปถึงเครื่องชาร์จรถยนต์ EV ที่เป็นเทรนด์นิยมในปัจจุบัน ซึ่งหากใครที่สนใจราคาแผงโซล่าเซลล์ สําหรับบ้านของ Electronmove สามารถเข้าไปตรวจสอบราคาได้ที่แพ็กเกจของทางบริษัทได้เช่นกัน
วางแผนอยากติดโซล่าเซลล์บ้าน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่าง Electronmove
แม้การติดโซล่าเซลล์จะช่วยลดค่าไฟบ้านได้จริง แต่ก็อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้เช่นกัน จากการเลือกใช้งานผู้ติดตั้งที่ไม่มีประสบการณ์และผลงานการันตี ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากไฟรั่ว ไฟช็อต ลามไปจนถึงอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณเลือกใช้บริการให้ Electronmove ของเราเข้าไปติดตั้งโซล่าเซลล์ให้กับคุณ เพราะเรานั้นเป็นทีมงานคุณภาพที่ใช้ Micro Inverter ที่ทำงานเชื่อมต่อกันหลายตัว แทนที่ระบบเดิมอย่าง String Inverter ที่ทำงานด้วยตัวเดียวเพียงลำพัง ซึ่งระบบนี้จะช่วยเปลี่ยนให้กระแสไฟเป็นกระแสสลับ ลดปริมาณไฟฟ้าบนสายไฟให้ไม่มากเกินไป เพิ่มความปลอดภัยให้สูงขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า แต่ยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิม
สรุป
ผู้เชี่ยวชาญที่ดี คือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจ และผลงานต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถติดต่อ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับเรา Electronmove ที่มีประวัติการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้านมาแล้วหลากหลายโครงการ ทั้ง Ananda Development, AP Thailand, Land&House, SC ASSET, Sansiri และอื่น ๆ อีกมากมายกว่าอีก 7 โครงการ การันตีความเชี่ยวชาญในเรื่องระบบโซล่าเซลล์บ้านได้อย่างเด่นชัด อีกทั้งยังมีบริการให้คำแนะนำและประเมินหน้างานที่ไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงหากประเมินแล้วว่าไม่คุ้มค่า ทางเราก็จะแจ้งโดยตรง เพื่อที่ลูกค้าจะได้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะติดตั้งหรือไม่อีกด้วย
สามารถเข้ามาดูสินค้าและบริการเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของ Electronmove หรือ ติดต่อมาที่ Line Official @electronmove และช่องทางโทรศัพท์ได้ที่ 093-659-4545 (เซลล์) และ 093-552-4444 (บริการหลังการขาย)