Rapid Shutdown หรือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยจะมีจุดประสงค์สามารถหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว ทำหน้าที่ลดแรงดันในระดับที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้ระบบโซล่าเซลล์ เพื่อให้แน่ใจว่าบนหลังคาของอาคารมีสภาพที่ปลอดภัยในระหว่างพนักงานดับเพลิงหรือ ผู้ปฏิบัติงานของการไฟฟ้าปฏิบัติงาน เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ลดความเสียหาย และสามารถช่วยชีวิตของผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้อย่างปลอดภัย
คุณสมบัติของ Rapid shutdown
Rapid Shutdown หรือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยเมื่อมีการเปิดการทำงานจะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า “วงจรโซลาร์เซลล์อยู่นอกขอบเขต” จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 30 โวลต์ภายใน 30 วินาที และ ”วงจรโซลาร์เซลล์อยู่ในขอบเขต” จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 80 โวลต์ภายใน 30 วินาที
ระบบ Rapid Shutdown จะทำให้แรงดันไฟอยู่ในระดับที่ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟดูดในการเกิดอันตรายต่อพนักงานดับเพลิงหรือ ผู้ปฏิบัติงานของการไฟฟ้า โดยไม่ต้องสัมผัสกับสายไฟหรือไฟฟ้าแรงดันสูงโดยตรง จะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งต้องมีผลการทดสอบ ตามขั้นตอน หรือ ใบรับรอง ตามมาตรฐาน UL 3741 โดยรายงานผลการทดสอบต้องออกโดยสถาบันหรือหน่วยงานทดสอบที่เป็นกลาง และได้มาตรฐาน เช่น TUV, VDE, Bureau Veritas, UL, CSA, InterTek หรือ PTEC
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย สภาวิศวกรได้ออกมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2559 ได้กำหนดเกี่ยวกับระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน เอาไว้ในหัวข้อดังนี้
ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา ควรพิจารณาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน ซึ่งมีคุณลักษณะ ดังนี้
- ใช้สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ที่มีเคเบิลภายในอาคารยาวมากกว่า 1.5 เมตร หรือ เคเบิลของโซล่าเซลล์ ยาวมากกว่า 3 เมตร
- เมื่ออุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉินเริ่มทำงาน สายเคเบิลจะต้องมีแรงดันไม่เกิน 80 โวลต์ และ 240 โวลต์-แอมแปร์ ภายในเวลา 30 วินาที โดยแรงดันไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าต้องวัดระหว่างเคเบิลสองเส้นและระหว่างเคเบิลเส้นใดเส้นหนึ่งกับดิน
- ควรมีการระบุอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน โดยติดตั้งสวิตช์เริ่มการทำงานระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน (rapid shutdown) ในตำแหน่งที่นักดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น ผนังใกล้ทางเข้าอาคาร เป็นต้น
ทำไม Micro inverter ที่มี Rapid Shutdown ในตัว จึงดีกว่าการติดตั้ง Rapid Shutdown ระบบ String Inverter ที่มาจากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน ?
- Built-in ในตัว ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม ลดปัญหาความไม่เข้ากันของอุปกรณ์ : หากเลือกแบรนด์อินเวอร์เตอร์และ Rapid Shutdown ที่มาจากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน อาจมีปัญหาในการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ทั้งสอง แต่ Micro Inverter จะมีระบบ Rapid Shutdown ในตัว จึงไม่มีปัญหาในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์
- มีแพลตฟอร์ม Monitoring ในระดับแผง Micro Inverter ส่วนใหญ่มีแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม ที่สามารถมองเห็นและตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าในระบบลดลงในระดับที่ปลอดภัยได้หากเกิดปัญหา
ส่วนใหญ่อุปกรณ์ Rapid shutdown จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมให้กับการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ในรูปแบบ String Inverter แต่ในส่วนของ ระบบ Micro Inverter ส่วนใหญ่นั้นจะมีระบบ Rapid shutdown ในตัวไม่ต้องทำการติดตั้งเพิ่มเติมทำให้ระบบโซลาร์เซลล์ในรูปแบบ Micro Inverter มีความสะดวกในการติดตั้งและการดูแลรักษาที่ง่ายดายกว่า โซลาร์เซลล์ในรูปแบบ String Inverter