การติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อการใช้งานในปัจจุบัน มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในทั้งภาคอุตสาหกรรมหรือครัวเรือน ซึ่งขนาดของระบบโซลาร์เซลล์เอง ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถจะมองข้ามไปได้
เพราะยิ่งระบบมีขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งสามารถผลิตไฟได้มาก แต่ก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูง มาดูกันว่า โซล่าเซลล์ 3000 w ใช้อะไรได้บ้าง พอไหมสำหรับการใช้ในครัวเรือนทั่ว ๆ ไป รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอยู่ที่เท่าไหร่อีกด้วย
สารบัญ
ระบบโซล่าเซลล์ 3000w ใช้อะไรได้บ้าง
การติดโซล่าเซลล์บ้านขนาด 3 kW สามารถรองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้หลายประเภท โดยไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากแผงโซล่าเซลล์ 3000w ใช้อะไรได้บ้าง หากให้หยิบยกตัวอย่างที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มระบบมาแล้ว จะเป็นดังนี้
- ทีวีขนาด 50 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง
- เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU จำนวน 1 เครื่อง
- เครื่องซักผ้าขนาด 7 กิโลกรัม จำนวน 1 เครื่อง
- ตู้เย็นขนาด 10 คิว จำนวน 1 เครื่อง
- เครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 3,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง
- เตาไฟฟ้า จำนวน 1 เครื่อง
- เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็ก จำนวน 1 เครื่อง
- หลอดไฟ LED จำนวน 10 หลอด
ระบบโซล่าเซลล์ขนาด 3,000 w นี้ จะช่วยทำให้สามารถประหยัดค่าไฟต่อเดือนได้ประมาณ 1,500 ถึง 2,000 บาท ต่อเดือนโดยเฉลี่ย แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ติดตั้ง และปริมาณการผลิตไฟจากแสงอาทิตย์ในวันเดือนนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน
โดยโซล่าเซลล์บ้านขนาด 3 kW กับบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่เน้นใช้ไฟในตอนกลางวัน จะเหมาะกับการใช้งานกับโซล่าเซลล์ระบบออนกริด และระบบไฮบริด ซึ่งด้วยขนาด 3 kW แล้ว จะเน้นช่วยในเรื่องของการประหยัดไฟ แต่ไม่ใช่การทดแทนพลังงาน
แต่หากเป็นบ้านสวน หรือพื้นที่ที่ไม่ได้มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หรือไม่มีการใช้ไฟในตอนกลางวัน ก็จะเหมาะกับการใช้งานในระบบออฟกริด ที่สามารถสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งานตอนกลางคืนได้
และการจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบ้าน ก็จำเป็นที่จะต้องรู้พฤติกรรมการใช้ไฟอย่างสม่ำเสมอที่เกิดขึ้นทุกวันของบ้านหลังดังกล่าว ว่ามีการใช้งานอะไร อย่างไร และเท่าไหร่ในแต่ละวัน
ซึ่งหากใครที่ต้องการทราบข้อมูลอย่างคร่าว ๆ เพื่อที่จะได้ประเมิณว่าโซล่าเซลล์ 3000w ใช้อะไรได้บ้าง เพียงพอหรือไม่ เราขอแนะนำ Solar Calculator (โปรแกรมคำนวณโซล่าออนไลน์) จากเรา Electronmove ที่จะช่วยคำนวณการใช้งานไฟฟ้าอย่างคร่าว ๆ ได้นั่นเอง
ติดตั้งใช้งานโซล่าเซลล์ขนาด 3,000 w ใช้พื้นที่เท่าไหร่
พื้นที่สำหรับติดโซล่าเซลล์บ้านขนาด 3 kW จะขึ้นอยู่กับจำนวนและขนาดของแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้ ตลอดจนข้อกำหนดในการติดตั้ง แต่โดยเฉลี่ยแล้ว โซล่าเซลล์ขนาด 3,000 w มักต้องการพื้นที่ติดตั้งประมาณ 13 ถึง 18 ตารางเมตรเป็นอย่างต่ำ
ส่วนจำนวนแผงโซล่าเซลล์สำหรับระบบขนาด 3kw จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น กำลังไฟฟ้าของแผง ประสิทธิภาพของส่วนประกอบ และพื้นที่หลังคาบ้าน
แต่โดยเฉลี่ยแล้ว การติดโซล่าเซลล์บ้านขนาด 3kW จะต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ประมาณ 5 ถึง 7 แผง ขึ้นอยู่กับกำลังผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งมีขนาดผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 450 วัตต์ถึง 550 วัตต์ต่อแผงโซล่าเซลล์
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ใช้ติดตั้งโซล่าเซลล์อาจแตกต่างกันไปตามตำแหน่งและทิศทางของหลังคา ตลอดจนเงาบังแดดหรือสิ่งกีดขวางที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนจำนวนแผงโซล่าเซลล์ที่ต้องการ ก็อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบ และข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นกัน
ติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาด 3 kW ราคาเท่าไหร่
สำหรับโซล่าเซลล์ 3000w ราคา ของระบบออนกริด (On Grid) และออฟกริด (Off Grid) จะแตกต่างกันอย่างไร Electronmove จะพามาดูราคาแบบคร่าว ๆ ว่าแตกต่างกันมากเท่าไหร่
ระบบโซล่าเซลล์ขนาด 3 kW แบบออนกริด (On Grid)
สำหรับระบบโซล่าเซลล์ขนาด 3 kW แบบออนกริด จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- ราคาแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 : ราคาโดยประมาณ 32,000 ไปจนถึง 50,000 บาท
- ราคาแบตเตอรี่ : เนื่องจากไม่มีการใช้งาน จึงไม่มีค่าใช้จ่าย
- ราคาอินเวอร์เตอร์ที่ได้รับมาตรฐานสากล : ราคาโดยประมาณ 30,000 ไปจนถึง 40,000 บาท
- ราคาคอนโทรลชาร์จเจอร์ : เนื่องจากไม่มีการใช้งาน จึงไม่มีค่าใช้จ่าย
- ค่าวิศวกรเซ็นแบบ (วิศวกรไฟฟ้า และวิศวกรโยธา) : ราคาโดยประมาณ 20,000 บาท
- ค่าขออนุญาตเชื่อมไฟการไฟฟ้า : ราคาโดยประมาณ 5,000 บาท
- ค่าช่างติดตั้ง (ที่มีใบประกอบวิชาชีพ) : ราคาโดยประมาณ 15,000 บาท
- ค่ามิเตอร์ : ราคาโดยประมาณ 5,000 บาท
- อุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ สายไฟ ขาตั้ง ค่าขนส่ง : ราคาโดยประมาณ 30,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด : 137,000 ไปจนถึง 227,000 บาท
ระบบโซล่าเซลล์ขนาด 3 kW แบบออฟกริด (Off Grid)
สำหรับระบบโซล่าเซลล์ขนาด 3 kW แบบออฟกริด จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- ราคาแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 : ราคาโดยประมาณ 32,000 ไปจนถึง 50,000 บาท
- ราคาแบตเตอรี่ : ราคาโดยประมาณ 40,000 ไปจนถึง 90,000 บาท
- ราคาอินเวอร์เตอร์ที่ได้รับมาตรฐานสากล : ราคาโดยประมาณ 30,000 ไปจนถึง 40,000 บาท
- ราคาคอนโทรลชาร์จเจอร์ : ราคาโดยประมาณ 8,000 ไปจนถึง 30,000 บาท
- ค่าวิศวกรเซ็นแบบ (วิศวกรไฟฟ้า และวิศวกรโยธา) : เนื่องจากไม่มีความจำเป็น จึงไม่มีค่าใช้จ่าย
- ค่าขออนุญาตเชื่อมไฟการไฟฟ้า : เนื่องจากไม่มีความจำเป็น จึงไม่มีค่าใช้จ่าย
- ค่าช่างติดตั้ง (ที่มีใบประกอบวิชาชีพ) : ราคาโดยประมาณ 15,000 บาท
- ค่ามิเตอร์ : เนื่องจากไม่มีความจำเป็น จึงไม่มีค่าใช้จ่าย
- อุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ สายไฟ ขาตั้ง ค่าขนส่ง : ราคาโดยประมาณ 30,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด : 155,000 ไปจนถึง 365,000 บาท
สรุป
แม้ว่าการใช้งานโซล่าเซลล์ขนาด 3,000 w นั้น จะไม่ได้สามารถครอบคลุมการใช้งานถึงการใช้ไฟในตลอดทั้งวัน แต่ก็สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของการใช้ไฟฟ้าลงไปได้ ซึ่งเป็นการลงทุนในระยะยาวที่คุ้มค่า
โดยหากใครที่ไม่มั่นใจ ก็สามารถที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่าง Electronmove เพื่อให้ช่วยแผนและให้คำแนะนำในการออกแบบระบบโซลาร์เซลล์
เพราะเราคือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการออกแบบ และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในสายงานมายาวนานกว่า 5 ปี มากพร้อมด้วยประสบการณ์และการการันตีกว่า 12 โครงการหมู่บ้าน รวมถึงยังมีบริการหลังการขายที่ครบครันให้แก่ผู้ใช้บริการ
ซึ่งหากใครที่สนใจอยากจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ด้วยทีมช่างชำนาญการที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านการวางระบบ ที่มาพร้อมบริการหลังการขายที่ครอบคลุม ก็สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove ของเรา หรือทาง Line Official @electronmove และช่องทางการติดต่อของ Electronmove เบอร์โทร : 093-659-4545 (เซลล์) 093-552-4444 (บริการหลังการขาย)
E-mail : support@electronmove.co.th