Electron Move

สารบัญ

แม้จะบอกว่าเมืองไทยนั้นมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะเราอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่า ในช่วงหน้าฝน หรือช่วงมรสุมเข้าของไทยที่ท้องฟ้าไม่เปิด จะทำให้ใครต่อใครกังวลว่า จะไม่สามารถใช้งานโซลาร์เซลล์ ฝนตกแบบนี้ได้ แต่ความจริงแล้วมันเป็นยังไงกันแน่ มาหาคำตอบของคำถามอันแสนคาใจของการใช้งานโซลาร์เซลล์ ฝนตก ด้วยข้อมูลจากบทความด้านล่างนี้ของ Electronmove ด้วยกัน

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ ฝนตก ถ้าฝนตกแล้วจะใช้งานได้ไหมนะ?

โซลาร์เซลล์บ้าน

ในช่วงที่ฝนตก หลาย ๆ คนมักกังวลว่าโซลาร์เซลล์จะไม่สามารถใช้งานได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรายังสามารถใช้งานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากโซลาร์เซลล์นี้ได้อยู่ เพียงแต่ปริมาณในการผลิตไฟฟ้าอาจจะลดลงเนื่องจากแดดที่น้อยลงนั่นเอง

แล้วถ้าเป็นวันที่มีเมฆมาก โซลาร์เซลล์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไหมนะ?

โดยทั่วไปแล้ว แสงอาทิตย์ที่เรานำมาใช้ผลิตพลังงานด้วยระบบโซลาร์เซลล์นั้น แบ่งออกมาได้เป็นสองแหล่งหลัก คือ 

  • แสงตรง (Direct Sunlight) : คือแสงอาทิตย์ที่ส่องตรงมายังโลก ไม่มีอุปสรรคใด ๆ มาขวางทาง การมีแสงตรงเป็นส่วนใหญ่นั้น จะช่วยให้โซลาร์เซลล์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • แสงกระจาย (Diffuse Sunlight) : นี่คือแสงที่ถูกเมฆ หรืออุปสรรคอื่น ๆ ในบรรยากาศสะท้อน หรือกระจายออกไปในทิศทางต่าง ๆ แสงกระจายนี้มีความเข้มข้นน้อยกว่าแสงตรง แต่ยังมีประโยชน์ในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นวันที่มีเมฆหรือวันที่มีแสงแดดส่องตรง โซลาร์เซลล์ก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ แต่ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตออกมานั้นจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงอาทิตย์ ซึ่งเราสามารถคาดการณ์ได้จากสภาพอากาศ

แผงโซลาร์เซลล์บ้าน

แต่โดยทั่วไปแล้ว ในวันที่มีเมฆมาก แผงโซลาร์เซลล์มักจะผลิต 10 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของกำลังไฟเดิม เนื่องจากเมฆกำลังบดบังแสงดวงอาทิตย์จำนวนมาก แน่นอนว่าแผงโซลาร์เซลล์มักจะทำงานได้ดีขึ้น ในสภาวะที่มีเมฆบางส่วนหรือเมื่อมีเมฆมากในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น จึงควรมีการวางแผนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม และมีระบบจัดการพลังงานที่ดี ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากแสงแดดได้เต็มที่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นแสงตรงหรือแสงกระจายนั่นเอง

ใช้งานโซลาร์เซลล์ในช่วงฝนตก หรือมรสุมเข้า ต้องระวังอะไรบ้าง

ปกติแล้ว แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐาน จะได้รับการรับรอง UL, CE, IEC และอื่น ๆ และจะสามารถทนต่อหิมะตกหนักได้ถึง 5400 ปาสกาล (pascal) รวมถึงรับแรงลมได้สูงถึง 2400 ปาสกาล (pascal) พร้อมทนทานต่อลูกเห็บขนาดสูงสุด 1 นิ้วที่มีความเร็วได้สูงสุด 50 ไมล์ต่อชั่วโมงเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ทำให้มั่นใจได้ว่าตัวแผงของเรานั้นจะแข็งแรง รับลมมรสุมและฝนกระหน่ำได้ 

อีกทั้งจุดต่อไฟฟ้าที่อยู่ด้านหลังแผง จะมีระดับการป้องกัน IP67 ขึ้นไป ซึ่งหมายความว่าสามารถป้องกันฝุ่น และสามารถจุ่มน้ำได้ที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร แต่ก็ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องระวังอยู่เช่นเดียวกัน ได้แก่

ใช้งานโซลาร์เซลล์ในช่วงฝนตก

1. ปัญหาไฟตก หรือไฟกระชาก

ปัญหาไฟตก หรือไฟกระชาก เป็นปัญหาที่ผู้ใช้งานโซลาร์เซลล์ มักกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานโซลาร์เซลล์ของเราหรือไม่ เพราะปัญหาเรื่องไฟตกมักจะพบได้ในช่วงที่ฝนฟ้าอากาศไม่เป็นใจ โดยเฉพาะบ้านไหนที่พบปัญหาไฟตกเป็นประจำ ก็อาจทำให้เกิดการช็อตสร้างความเสียหายแก่โซลาร์เซลล์ได้ 

ปัญหานี้ทำให้หลายคนกังวลในการใช้โซลาร์เซลล์เป็นอย่างมาก แต่รู้ไหมว่า ความจริงแล้ววิธีการแก้นั้นง่ายมาก เพียงแค่ต้องเลือกติดโซลาร์เซลล์ให้เหมาะกับบ้านของเรา หากบ้านของเราพบปัญหาไฟตก หรือไฟกระชาก และไฟเกินอยู่บ่อยครั้ง ก็แนะนำให้เลือกติดโซลาร์เซลล์เป็นระบบแบบไฮบริด ก็จะช่วยรับมือกับปัญหาเรื่องไฟตก ไฟกระชากได้ดีแล้วนั่นเอง

2. ปัญหาฟ้าผ่าอินเวอร์เตอร์ หรือแผงโซลาร์เซลล์

เพราะแผงโซลาร์เซลล์ไม่มีวัตถุนำไฟฟ้า ดังนั้น จึงสามารถมั่นใจได้ว่าแผงโซลาร์เซลล์จะไม่เป็นทำงานเป็นสายล่อฟ้า แต่ก็ยังคงมีความเป็นไปได้ ที่อาจเกิดฟ้าผ่าตกลงมาที่แผงโซลาร์เซลล์หรืออินเวอร์เตอร์เช่นกัน จึงควรมีระบบป้องกันฟ้าผ่าในตัว หรือติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าภายนอกเพิ่มเติม และควรเลือกติดตั้งสายดินโดยผู้ให้บริการติดตั้งที่ไว้ใจได้ เพื่อป้องกันโอกาสเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น อย่างอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ (SPD) ช่วยเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าลงสู่สายดิน เป็นต้น

3. ปัญหาหลังคาถล่มจากกิ่งไม้หักโค่นรอบอาคาร

เพื่อให้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สามารถใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในรูปแบบโซลาเซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาหรือดาดฟ้า จึงควรมีการตัดแต่งกิ่งไม้ และต้นไม้ที่อยู่ใกล้ตัวอาคาร ซึ่งอาจจะไปบดบังแสงแดด ทำให้ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลง รวมทั้งในกรณีเกิดพายุลมแรง หากกิ่งไม้หรือต้นไม้แห้งพุพัง ก็อาจจะหักโค่นลงมาทับแผงโซลาร์เซลล์ จนก่อทำให้เกิดความเสียหาย อันเป็นเหตุให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซม หรือติดตั้งใหม่ได้เลยอีกด้วย

การทำงานของโซลาร์เซลล์

สรุป

ถึงฝนจะตก แต่โซลาร์เซลล์นั้นก็ยังคงสามารถทำการผลิตไฟฟ้าต่อไปได้ แม้ว่าอาจจะมีกำลังผลิตที่น้อยลงไป เพราะความเข้มแสงที่ลดลงจากสภาพอากาศภายนอกก็ตาม ซึ่งสิ่งที่ควรจะระวังจริง ๆ คือการป้องกันฟ้าผ่าลงแผงหรืออินเวอร์เตอร์ จึงควรมองหาผู้ติดตั้งที่ชำนาญการ ที่จะช่วยวางระบบป้องกันฟ้าผ่า หรือไฟกระชากให้กับระบบโซลาร์เซลล์ของเรา พร้อมทั้งบริการหลังการขายที่จะเข้ามาคอยดูแลทำความสะอาด และตรวจสอบสภาพของระบบว่าเป็นอย่างไร ซึ่งหากใครที่สนใจ สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove ของเรา หรือทาง Line Official @electronmove และช่องทางการติดต่อของ Electronmove เบอร์โทร : 093-659-4545 (เซลล์) 093-552-4444 (บริการหลังการขาย)