ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องของค่าไฟแพงที่คนไทยกำลังประสบอยู่นั้น เป็นสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับหลาย ๆ บ้าน ซึ่งในขณะนี้ที่ค่าไฟนั้นถีบตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญหาค่า Ft และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ก็ทำให้แต่ละบ้านต้องหาทางประหยัดไฟกัน แต่การไม่รู้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไหร่ในทุก ๆ วันที่เราใช้งาน ก็อาจทำให้เราไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
สารบัญ
สูตรคำนวณการกินไฟ รู้ทันเครื่องใช้ไฟฟ้าจอมบริโภคไฟ
การที่ดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องนั้นกินไฟเท่าไหร่ สามารถสังเกตได้จากจำนวนวัตต์ (Watt) ที่ระบุอยู่ในคู่มือ หรือติดอยู่ที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้น ๆ เช่น หากระบุว่า 1,000 วัตต์ ก็หมายความว่า เมื่อใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์นั่นเอง
ส่วนจะคิดเป็นค่าไฟเท่าไหร่นั้นสามารถคำนวณได้ดังนี้
ค่าไฟฟ้าต่อชั่วโมง (บาท) = (จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า x ค่าไฟต่อยูนิต)/1000
ค่าไฟฟ้าต่อชั่วโมง (บาท) = (1,000 W X 3.9* )/ 1,000
ค่าไฟฟ้าต่อชั่วโมง (บาท) = 3.9
ดังนั้น หากใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องติดต่อกัน 1 ชั่วโมง จะต้องเสียค่าไฟฟ้าชั่วโมงละ 3.9 บาท เป็นต้น
*ราคาค่าไฟต่อยูนิต จะขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่เราใช้บริการ และอัตราการคิดจะมีความแตกต่างกันซึ่งยังไม่รวมค่าบริการอื่น รวมไปถึงการปรับค่าไฟของการไฟฟ้าอีกด้วย
รวมพลเครื่องใช้ไฟฟ้ากินจุภายในบ้าน แต่ละอย่างกินไฟเท่าไหร่กันนะ
- เครื่องดูดฝุ่น : ขนาด 1,400 ถึง 2,000 วัตต์ กินไฟประมาณ 6 ถึง 8 บาทต่อชั่วโมง
- เตารีดไฟฟ้า : ขนาด 1,000 ถึง 2,800 วัตต์ กินไฟประมาณ 3.5 ถึง 10 บาทต่อชั่วโมง
- เครื่องเป่าผม : ขนาด 1,600 ถึง 2,300 วัตต์ กินไฟประมาณ 6 ถึง 9 บาทต่อชั่วโมง
- เครื่องทำน้ำอุ่น : ขนาด 3,500 ถึง 6,000 วัตต์ กินไฟประมาณ 13.5 ถึง 23.5 บาทต่อชั่วโมง
- เครื่องซักผ้าฝาบน และฝาหน้า : ขนาด 10 กิโลกรัม กินไฟประมาณ 2 ถึง 8 บาทต่อชั่วโมง
- เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed Speed : ขนาด 9,000 ถึง 22,000 บีทียู กินไฟประมาณ 2.5 ถึง 6 บาทต่อชั่วโมง
- พัดลมตั้งพื้น : ขนาด ใบพัด 12 ถึง 18 นิ้ว กินไฟประมาณ 0.15 ถึง 0.25 บาทต่อชั่วโมง
- โทรทัศน์ LED Backlight TV : ขนาด 43 ถึง 65 นิ้ว กินไฟประมาณ 0.40 ถึง 1 บาทต่อชั่วโมง
- เตาไมโครเวฟ : ขนาด 20 ถึง 30 ลิตร กินไฟประมาณ 3 ถึง 4 บาทต่อชั่วโมง
- ตู้เย็น 2 ประตู : ขนาด 5.5 ถึง 12.2 คิวบิกฟุต กินไฟประมาณ 0.30 ถึง 0.40 บาทต่อชั่วโมง
- หม้อหุงข้าว : ขนาด 1.0 ถึง 1.8 ลิตร กินไฟประมาณ 3 ถึง 6 บาทต่อชั่วโมง
- เครื่องปิ้งขนมปัง : ขนาด 760 ถึง 900 วัตต์ กินไฟประมาณ 3 ถึง 3.5 บาทต่อชั่วโมง
- เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 ถึง 2 หัวเตา : ขนาด 2,000 ถึง 3,500 วัตต์ กินไฟประมาณ 8 ถึง 14 บาทต่อชั่วโมง
- เครื่องปั๊มน้ำ : ขนาด 150 ถึง 200 วัตต์ กินไฟประมาณ 60 ถึง 80 สตางค์ต่อชั่วโมง
- โน้ตบุ๊ก : ขนาด 40 ถึง 65 วัตต์ กินไฟประมาณ 16 ถึง 26 สตางค์ต่อชั่วโมง
- เครื่องฟอกอากาศ : ขนาด 2 ถึง 25 วัตต์ กินไฟประมาณ 0.8 ถึง 10 สตางค์ต่อชั่วโมง
- หลอดไฟ LED T8 : ขนาด 16 วัตต์ กินไฟประมาณ 6.4 สตางค์ต่อชั่วโมง
- ชาร์จมือถือ : ขนาด 6 วัตต์ กินไฟประมาณ 2.4 สตางค์ต่อชั่วโมง
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้นสำคัญไฉน
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คือฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ได้มาตรฐาน ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนดเอาไว้
ซึ่งในสลากจะมีส่วนประกอบไป ดังนี้
- ระบุประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ
- ระบุปีที่ทำการทดสอบค่าพลังงาน
- ลายน้ำสัญลักษณ์กระทรวงพลังงาน ตรงกลางฉลาก
- การใช้พลังไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าต่อปี
- ข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ และยีห้อ
- ตัวเลขประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานตั้งแต่ 1 ถึง 5
- แสดงหน่วยงานที่กำกับดูแล ด้วยสัญลักษณ์ “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” และกระทรวงพลังงานด้วยตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีเขียว
- มีข้อมูลสำหรับสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ด้านล่างฉลาก
โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุดคือเบอร์ 5 นั่นเอง ส่วนเบอร์ 1 นั้นก็เจอแปลได้ว่ามีความประหยัดไฟน้อยที่สุด
นั่นจึงทำให้ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เพราะฉลากจะบอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด ทั้งระดับการใช้ไฟฟ้า ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายต่อปี ฯลฯ
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพดี ฉะนั้นแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 จึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุดในระยะยาว
แต่แน่นอนว่านอกการการเลือกใช้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แล้ว การใช้งานระบบโซล่าเซลล์ควบคู่ไปด้วย ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะยิ่งประหยัดไปได้มากกว่าเก่า จากพลังงานทางเลือกที่ผลิตได้ตลอดเวลาอย่างพลังงานแสงอาทิตย์
และการจะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบ้าน ก็จำเป็นที่จะต้องรู้พฤติกรรมการใช้ไฟอย่างสม่ำเสมอที่เกิดขึ้นทุกวันของบ้านหลังดังกล่าว ว่ามีการใช้งานอะไร อย่างไร และเท่าไหร่ในแต่ละวัน
ซึ่งหากใครที่ต้องการทราบข้อมูลอย่างคร่าว ๆ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบโปรโมชั่นต่าง ๆ ของผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์เบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจ เราขอแนะนำ Solar Calculator (โปรแกรมคำนวณโซล่าออนไลน์) จากเรา Electronmove ที่จะช่วยคำนวณการใช้งานไฟฟ้า และนำไปเป็นข้อมูลในการคำนวณการกินไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ต่ออีกด้วย
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบใหม่
และในปัจจุบัน ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบฉลากประหยัดไฟใหม่ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา บ่งบอกระดับความประหยัดไฟผ่านดาว ที่มีตั้งแต่
- เบอร์ 5 แบบธรรมดา
- เบอร์ 5 แบบ 1 ดาว
- เบอร์ 5 แบบ 2 ดาว
- เบอร์ 5 แบบ 3 ดาว
ซึ่งแต่ละระดับสามารถแสดงถึงความประหยัดค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์
และหากค่าความประหยัดพลังงานเทียบเท่าเบอร์ 5 ในฉลากแบบเดิม เข็มจะชี้อยู่ที่ช่องเบอร์ 5 แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เข็มชี้ไปที่ระดับของดาว หมายความว่า สามารถประหยัดไฟได้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปกว่าเดิมอีกนั่นเอง
สรุป
หลังจากที่รู้แล้วว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไหร่ในทุก ๆ วันที่เราใช้งานภายในบ้าน แม้การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้นจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาอย่างตรงจุดเช่นกัน
อีกหนึ่งทางแก้ปัญหาสำหรับการประหยัดไฟที่ยั่งยืน อย่างการใช้งานโซล่าเซลล์จึงกลายมาเป็นกระแสที่คนให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนนั่นเอง
ซึ่งหากใครที่สนใจอยากจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ด้วยทีมช่างชำนาญการที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านการวางระบบ ที่มาพร้อมบริการหลังการขายที่ครอบคลุม ก็สามารถติดต่อเข้ามาดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Electronmove ของเรา หรือทาง Line Official @electronmove และช่องทางการติดต่อของ Electronmove เบอร์โทร : 093-659-4545 (เซลล์) 093-552-4444 (บริการหลังการขาย)
E-mail : support@electronmove.co.th